วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาของอาเซียน

จากการที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมกขึ้น มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคพันธุ์ใหม่ ทำให้ประเทศต่างๆ ต้องมีข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศตนเองมากขึ้น เช่น ประเทศไทยมีการวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555) ที่กำหนดแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่วิเคราะห์ทุกอย่างอย่างมีเหตุผลใช้หลักความพอประมาณและระบบคุ้มกัน ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ
 
ภัยธรรมชาติและการระวังภัย
  1. อุทกภัยหรือภัยจากน้ำท่วม เป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน น้ำท่วมอาจมีสาเหตุมาจากพายุหมุนเขตร้อน มรสุมกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง หรือแผ่นดินไหวทำให้เขื่อนแตก โดยทั่วไปน้ำท่วมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
    • อุทกภัยที่เกิดจากน้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินซึมซับน้ำไม่ทัน น้ำฝนไหลบ่าเหนือผิวดินลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิตและทรัพย์สิน
    • อุทกภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง ลำธารล้นตลิ่งมีระดับสูงเกินกว่าปกติ ท่วมนานและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภคและพื้นที่การเกษตร
การระวังภัย เพื่อป้องกันภัยจากน้ำท่วม ควรปฏิบัติดังนี้
  1. ติดตามรับฟังการประกาศข่าวพยากรณ์อากาศของทางการอย่างสม่ำเสมอ เมื่อได้รับคำเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูงในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง
  2. ถ้าอยู่ในที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลากจากภูเขา กระแสน้ำจะไหลบ่าอย่างรวดเร็วควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนัก
  3. ถ้าอยู่ริมน้ำควรนำเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่ที่จะใช้งานได้สะดวก หรือเพื่อใช้ในการคมนาคมเมื่อมีน้ำท่วม
  4. ควรระวังกระแสน้ำหลาก ซึ่งจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่
  5. เตรียมกระสอบใส่ดินหรือทรายไว้ เพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูงขึ้น
  6. อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม
  7. อย่าลงเล่นน้ำ อาจพบอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้
  8. หลังจากน้ำท่วมจะมีน้ำขัง อาจเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์น้ำบริโภคควรเป็นน้ำสะอาดหรือต้มสุก
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน เป็นภัยธรรมชาติที่มักจะส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เช่น การเกิดพายุไซโคลนนาร์กีส (Nargis) ในอ่าวเบงกอล เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2551 และเคลื่อนตัวเข้าสู่พม่า ก่อให้เกิดภัยพิบัติครั้งร้ายแรงในพม่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั้งยังเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันเป็นบริเวณกว้างในประเทศบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา เนื่องจากพายุไซโคลนนาร์กีสมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง องค์การสหประชาชาติคาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ประมาฯ 146,000 คน โดยเสียชีวิต 90,000 คน และสูญหายอีกประมาณ 56,000 คน พายุไซโคลนนาร์กีสจัดเป็นภัยพิบัติจากพายุไซโคลนอันดับ 2 รองจากพายุไซโคลนโพลา (Bhola) ที่บังกลาเทศใน พ.ศ. 2513 ซึ่งมีประชากรเสียชีวิตประมาณ 5000,000 คน
พายุหมุนเขตร้อนเป็นพายุที่เกิดในเขตอากาศร้อนของโลก ถ้าเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน
พายุหมุนเขตร้อนเป็นผลกระบวนการพาความร้อน โดยแหล่งกำเนิดจะเกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเล เมื่อบริเวณดังกล่าวได้รับความร้อน จะทำให้ผิวน้ำร้อนขึ้นและขยายตัวลอยขึ้นสู่เบื้องบน ส่งผลให้ความกดอากาศบริเวณนั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้อากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนเข้มาแทนที่ เป็นผลให้อากาศในบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าลอยตัวเข้าสู่ศูนย์กลางความกดอากาต่ำ มีความแรงและเร็วขึ้น ในขณะนั้นท้องฟ้าจะมีเมฆมาก ทำให้ท้องฟ้าปิด เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เมือพายุนี้เคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณใดก็จะนำความเสียหายไปยังบริเวณนั้น ความรุนแรงแตกต่างกันตามความเร็วของพายุ ดังนี้
  • พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางต่ำกว่า 33 นอต (น้อยกว่า 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุโซนร้อน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34-63 นอต ขึ้นไป (ระหว่าง 62-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 63 นอตขึ้นไป (มากกว่า 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซึ่งจัดเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุดนั้น จะมีความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนไร่นาเสียหาย ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต่ฝุ่นเป็นประจำทุกปี คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน (เกาะไหหลำ) ส่วนในประเทศ พม่า บังกลาเทศ ศรีลังกาและอินเดีย จะได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับเป็นเพราะพายุหมุนเขตร้อนจะอ่อนกำลังลง เมื่อพัดผ่านเวียดนามและลาว ทำให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงได้ดี จากสถิติในรอบ 47 ปี ประเทศไทยมีพายุไต้ฝุ่น 11 ครั้ง และมีเพียง 2 ครั้ง ที่มีความรุนแรงมาก คือ พายุไต้ฝุ่นเกย์และพายุไต้ฝุ่นกิสนา
พายุไต้ฝุ่นเกย์ เป็นพายุไต้ฝุ่นที่พัดผ่านประเทศไทยอย่างรุนแรงที่สุดและพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วลม 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ขึ้นฝั่งที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพานใหญ่ นานถึงหนึ่งชั่วโมง ก่อนเคลื่อนตัวลงมาที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทำให้เกิดลมพายุ ลมฝนและเศษฝน พัดกระหน่ำเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพรอย่างรุนแรงนานถึง 4 ชั่วโมง ความเร็วลมบวกกับความแรงของพายุทำให้เกิดคลื่นสูงในทะเลประมาณ 5-10 เมตร เมื่อพัดเข้าสู่ฝั่งสูงประมาณ 1-5 เมตร มีน้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมืองบางส่วนจนบ้านเรือนหว่า 100 หลังพังยับเยิน ถนนและสะพานหลายสิบแห่งใช้การไม่ได้ หลังจากพายุสงบลง อำเภอปะทิว และอำเภอท่าชนะกลายเป็นจุดวิกฤตที่สุด ที่ว่าการอำเภอ บ้านเรือน โรงพยาบาล เรือกสวนไร่นาเสียหายเกือบทั้งหมด นับเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ของภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 500 คน บ้าเรือนได้รับความเสียหาย 38,000 หลัง พายุไต้ฝุ่นเกย์นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย
พายุไต้ฝุ่นกิสนา เป็นพายุที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพายุหมุนเกิดขึ้นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พายุไต้ฝุ่นกิสนาก่อตัวขึ้นทางตะวนออกของประเทศฟิลิปปินส์จากนั้นได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 โดยขณะขึ้นฝั่งได้ทำให้เกิดลมแรงและฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ในแถบภาคเหนือของฟิลิปปินส์พายุลูกนี้ได้พัดอยู่ถึง 9 ชั่วโมง มีฝนตกลงมาอย่างรุนแรง ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม ในแถบภาคเหนือของฟิลิปปินส์ รวมถึงกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ ที่ถูกน้ำท่วมสูงถึง 6 เมตร นับตั้งแต่พายุขึ้นฝั่งมีน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวัน นับเป็นน้ำท่วมหนักในรอบ 40 ปีของฟิลิปปินส์ แล้วจึงเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ เพิ่มกำลังเป็นพายุไต่ฝุ่น ซึ่งมีความเร็วถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดเข้าสู่ฝั่งเวียดนาม ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย กลายเป็นพายุโซนร้อนที่ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 29-30 กันยายน พ.ศ. 2552 ส่วนภาคอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่บริเวณพื้นที่ลุ่มของจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ นครราชสีมา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ดังนี้
ก่อนเกิดเหตุการณ์ หมั่นติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง หากพบต้นไม้ ป้ายโฆษณาและเสาไฟฟ้าอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการหกโค่นให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขโดยด่วน พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ตลอดจนควรย้ายปลั๊กไฟให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม และเข้าร่วมการฝึกอพยพหนีภัยที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้นและปฏิบัติตน ดังนี้
  1. ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา หรือประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอใกล้ชิด
  2. ตรวจสอบสภาพบ้านเรือนให้มั่นคงแข็งแรง
  3. จัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคไว้ในยามฉุกเฉิน
  4. ขณะที่เกิดพยุห้ามออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของที่ปลิวมาตามลม
ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำและใกล้ทางน้ำไหล ควรหลบในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันแรงลมพัดสิ่งของภายในบ้านเสียหาย ไม่ออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพราะอาจได้รับอันตรายจากกิ่งไม้ ใบไม้ สังกะสี และกระเบื้องที่ปลิวมาตามลมได้ พร้อมทั้งหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากน้ำเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดินบนภูเขา ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเสียงดังมาจากป่าตันน้ำ สัตว์ป่าแตกตื่นให้รีบอพยพขึ้นไปอยู่ในที่สูงตามเส้นทางที่กำหนด
ส่วนผู้ที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล ผู้ประกอบการและชาวประมง ควรอพยพไปอยู่ในพื้นที่ห่างจากชายฝั่ง ไม่นำเรือออกจากฝั่ง เพราะช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจะมีฝนตกหนัก คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง อาจทำให้เรือล่มกลางทะเลได้ หลังเกิดไม่ควรรีบออกไปในที่โล่งแจ้ง ควรรอจนกว่าพายุสงบภายในบ้านอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หากพบเห็นสายไฟขาด เสาไฟฟ้าล้ม ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณดังกล่าวหรือนำไม้ไปเขี่ยอย่างเด็ดขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตจนเสียชีวิตได้
สึนามิ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สืบเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ประเทศไทยไม่เคยมีปรากฏการณ์เกิดคลื่นสึนามิที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน คนไทยรู้จักและพบกับความเสียหายอย่างรุนแรงจากคลื่นสึนามิเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ซึ่งเป็นการไหวตัวอย่างรุนแรงต่อเนื่องไปตลอดแนวแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย จนผิวโลกใต้มหาสมุทรปริร้าวแยกและไหวยกตัวขึ้นลงทั้งพื้นทะเล เป็นแนวยาวกว่า 1,200 กิโลเมตร ที่นอกชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดศูนย์กลางอยู่ลึก 10 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเจะห์ประมาณ 250 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,260 กิโลเมตร แผ่นดินไหวนี้เป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดนับจากการเกิดแผ่นดินไหวที่อะแลสกา ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในทวีปเอเชีย

 
เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวแบบยกตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้เกิดการยกตัวของมวลน้ำเป็นบริเวณกว้างสูงขึ้นเกือบทั้งทะเล แล้วถูกแรงดึงดุดของโลกดูดให้ไหลไปสู่จุดสมดุลใหม่ น้ำในมหาสมุทรจึงเกิดการกระเพื่อมส่งเป็นคลื่นออกไปทุกทิศทาง ด้วยความเร็วสูงถึง 960 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถึงฝั่งก็จะรวมและแยกตัวโถมเข้าชายฝั่งอย่างเร็วและรุนแรง ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์และสัตว์เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ผู้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะที่เมืองบันดาอาเจะห์บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย พม่า หมู่เกาะนิดโคบาร์ หมู่เกาะมัลดีฟส์ รวมถึงประเทศโซมาเลีย เคนยา แทนซาเนียและหมู่เกาะเซเซลส์ในทวีปแอฟริกา
 
การระวังภัย
  1. เมื่อได้ยินการเตือนภัยว่าจะเกิดสึนามิหรือคลื่นสูงเคลื่อนเข้ามาหรือเห็นน้ำทะเลลดลงกะทันหัน ควรหนีไปยังที่เป็นเนินสูง และไม่กลับไปที่ชายฝั่งอีก เพราะสึนามิสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้
  2. สึนามิส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเกิดไกลหรือไกลออกไป แต่แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่ได้ก่อให้เกิดสึนามิเสมอไป เมื่อได้ยินประกาศเตือนแผ่นดินไหว ให้เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากอยู่ในบริเวณเสี่ยง เช่น บริเวณชายฝั่งหรือเกาะ
  3. สึนามิอาจเกิดเป็นสิบเมตร และซัดเข้าชายฝั่งเป็นระยะทางยาวมาก ที่ต่ำ เช่น ชายฝั่งทะเลและชายหาดมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยต่อมนุษย์
  4. เมื่ออยู่ใกล้ชายฝั่งแล้วรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน หรือเห็นระดับน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ไปยังเนินสูงและอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำหรือที่ต่ำ
  5. แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว (Earthquakes) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบของเปลือกโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลายที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลกและลอยตัวผลักดันเปลือกโลกตอนบนอยู่ลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นมีการเคลื่อนที่มรทิศทางต่างกัน พร้อมกัลป์เก็บสะสมพลังงานไว้ภายใน ดังนั้นบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกันหรือแยกจากกัน หากบริเวณของขอบเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ประเทศนั้นก็จะมีความเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศนิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นอาจเกิดพลังงานที่สะสมในเปลือกโลกจะส่งผ่านไปยังเปลือกโลกของทวีปตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกที่เรียกว่า รอยเลื่อน ทำให้รอยเลื่อนที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก รอยเลื่อนจึงเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เกิดเป็นแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน

 
แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว จะส่งผลกระทบไปได้ไกล ไม่เฉพาะประเทศที่เกิดเท่านั้น บางครั้งหากมีความรุนแรงมาก คลื่นแผ่นดินไหวจะส่งผ่านไปได้บนผิวโลกหลายพันกิโลเมตรกินอาณาเขตหลายประเทศ
ในอดีตเคยมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในรอบทศวรรษ เกิดขึ้นที่เมืองถังชาน มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ในตอนดึกของวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 250,000 คน บาดเจ็บร่วม 800,000 คน ความเสียหายร้ายแรงนี้ ทำให้ประเทศจีน ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี จึงสามารถฟื้นฟูเมืองถังชานให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้งหนึ่ง
ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวอาจจะไม่จบลงเพียงการสั่นสะเทือนแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่ละครั้ง มักมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กตามมาอีกหลายระลอก ซึ่งเรียกว่า แผ่นดินไหวระลอกหลัง (after shock) ซึ่งอาจเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่ยังคงค้างอยู่ในมวลหินและยังเกิดในบริเวณรอยเลื่อนเดียวกันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกอีกด้วย
ปัจจุบันภัยจากแผ่นดินไหวยังคงเป็นธรรมชาติที่ไม่สาสารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน มีขนาดและความรุนแรงเท่าใด แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความพยายามที่จะศึกษาวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว เพื่อให้การพยากรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะได้ลดน้อยลง
ความรุนแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว สามารถกำหนดได้จากมาตราวัดความรุนแรง แผ่นดินไหวที่นิยมใช้กันมาก คือ มาตราริกเตอร์ ที่ซี.เอฟ.ริกเตอร์ (C.F.Richter) นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวแห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่ใน พ.ศ. 2478 โดยใช้ผลจากการบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือนและมีการปรับแก้ระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวโดยค่าแสดงขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดแต่ละครั้ง คำนวณได้จากเครื่องตรวจแผ่นดินไหว ที่มีค่าตั้งแต่ 0-9.0 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2549 : 459) ดังตารางที่ 2 นอกจากนี้ยังบอกได้ในรูปของความรุนแรงและขนาดของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึกของคน ความแข็งแรงมั่นคงของอาคาร สถานที่และสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งตำแหน่งของผู้สังเกตว่าอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากน้อยเพียงใด
ทวีปเอเชีย มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมากที่สุด คือ การเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2547 โดยมีขนาด 9.0 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นการเกิดแผ่ดินไหวใต้พื้นน้ำและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาเป็นบริเวณกว้างรอบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ประชากรในหลายประเทศเสียชีวิตมากกว่า 200,000 คน ประเทศไทยก็ได้รับความเสียหายจากสึนามิครั้งนี้เป็นบริเวณกว้างด้วยเช่นกันโดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา
พ.ศ. 2550 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มณฑลซื่อชวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ขนาด 7.9 ริคเตอร์ ทำให้บ้านเรือนเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากประเทศที่อยู่ในแนววงแหวนไฟแล้ว ในทวีปเอเชียยังมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวรอยต่อระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอิหร่านและประเทศอัฟกานิสถาน มักจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน
 
การระวังเตือนภัย
 
เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เราควรเตรียมความพร้อมและศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และไม่ควรวางสิ่งของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหว สิ่งของเหล่านี้อาจตกลงมาเป็นอันตรายแก้คนในครอบครัวได้ เครื่องใช้ที่หนัก ๆ ควรให้ผูกไว้ให้แน่นกับพื้นบ้าน เตรียมไฟฉายสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน รวมทั้งควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และหากอยู่ในอาคารหรือบ้านเรือนขณะเกดแผ่นดินไหวให้ยืนอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง อยู่ให้ห่างจากระเบียงและหน้าต่าง หรือมุดเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะ ถ้ากำลังอยู่ในอาคารสูงให้รีบหาทางออกจากอาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดหรือหากกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถจนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุด และหากอยู่บริเวณชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิวัดเข้าหาฝั่งได้ รวมทั้งต้องตั้งสติไว้ให้ดี อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ อย่างวิ่งไปวิ่งมาหรือวิ่งเข้าวิ่งออก จะทำให้เกิดความสับสนอาจเป็นอันตรายมากขึ้น
 
เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11


เป็นชุดการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์ จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนกับตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าวและไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำมีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน พ.ศ. 2547 อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยการเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน พ.ศ. 2551 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554


ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคารใต้
 
คลิปกล้องรักษาความปลอดภัย เป็นภาพเที่ยวบินที่ 77 พุ่งชนอาคารเพนตากอน เครื่องบินลำดังกล่าวพุ่งชนเพนตากอนประมาณ 86 วินาทีหลังบันทึกนี้เริ่มต้น

เช้าวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โจรจี้เครื่องบิน 19 คนยึดเครื่องบินพาณิชย์สี่เครื่องระหว่างทางไปซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิสหลังนำเครื่องขึ้นจากบอสตัน เนวาร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี.โจรเจตนาเลือกจี้เครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะทางไกลเพราะมีน้ำมันอยู่มาก เมื่อเวลา 8.46 น. โจรจี้เครื่องบินห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (1 WTC) และเมื่อเวลา 9.03 น. โจรอีกห้าคนได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ (2 WTC)
คนร้ายห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอนเมื่อเวลา 9.37 น.[16] ส่วนเที่ยวบินที่สี่ ภายใต้การควบคุมของคนร้ายสี่คน ชนยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อเวลา 10.03 น. หลังผู้โดยสารสู้กับคนร้าย เป้าหมายแท้จริงของเที่ยวบิน 93 นั้นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นอาคารรัฐสภาหรือไม่ก็ทำเนียบขาว เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินของเที่ยวบินที่ 93 เปิดเผยว่า ลูกเรือและผู้โดยสารพยายามยึดการควบคุมเครื่องคืนจากคนร้าย หลังทราบผ่านโทรศัพท์ว่ามีเครื่องบินที่ถูกจี้คล้ายกันพุ่งเข้าชนอาคารเช้าวันนั้น เมื่อชัดเจนแก่คนร้ายแล้วว่าผู้โดยสารอาจยึดเครื่องคืน คนร้ายคนหนึ่งจึงออกคำสั่งที่เหลือให้หมุนเครื่องบินและตั้งใจให้เครื่องตกไม่นานหลังจากนั้น เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์

ผู้โดยสารบางคนสามารถโทรศัพท์ได้โดยใช้บริการแอร์โฟนเคบิน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้รายละเอียดว่ามีคนร้ายจี้เครื่องบินหลายคนบนเครื่องบินแต่ละเครื่อง มีการใช้สเปรย์พริก (mace) แก๊สน้ำตา หรือสเปรย์พริกไทย และบางคนบนเครื่องถูกแทง รายงานชี้ว่าโจรจี้เครื่องบินแทงและฆ่านักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่อง และผู้โดยสารหนึ่งคนหรือมากกว่า ในรายงานสุดท้าย คณะกรรมการ 9/11 พบว่า โจรจี้เครื่องบินได้ซื้อเครื่องมืออเนกประสงค์และเลือกมีดและใบมีด พนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินที่ 11 ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 175 และผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 93 กล่าวว่าคนร้ายจี้เครื่องบินมีระเบิด แต่มีผู้โดยสารอีกคนหนึ่งกล่าวเช่นกันว่า เขาคิดว่าระเบิดเป็นของปลอม เอฟบีไอไม่พบร่องรอยวัตถุระเบิดที่จุดตก และคณะกรรมการ 9/11 สรุปว่าระเบิดอาจเป็นของปลอม

เมื่อเป็นที่ทราบแล้วว่าเที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง เครื่องบิน เอฟ-15 สองลำเร่งรีบออกจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติสในรัฐแมสซาชูเซตส์ และขนมาทางอากาศก่อนเวลา 8.53 น. หน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศอเมริกาเหนือ (NORAD) มีประกาศ 9 นาทีว่า เที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง แต่เพราะการสื่อสารที่เลวกับสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จึงไม่รับทราบเกี่ยวกับเที่ยวบินอื่นก่อนที่จะชนกับอาคาร หลังอาคารคู่ถูกชนทั้งสองหลังแล้ว เครื่องบินขับไล่เร่งรีบออกมากมากขึ้นจากฐานทัพอากาศแลงเลย์ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาเวลา 10.20 น. มีคำสั่งให้ยิงอากาศยานพาณิชย์ลำใดก็ตามที่สามารถชี้ว่าถูกจี้เครื่อง คำชี้แจงเหล่านี้ไม่ได้ถ่ายทอดมาทันเวลาที่เครื่องบินขับไล่จะปฏิบัติการ เครื่องบินขับไล่บางลำนำเครื่องขึ้นสู่อากาศโดยไม่มีกระสุนจริง และทราบว่าการขัดขวางคนร้ายมิให้นำเครื่องบินชนเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นักบินจะต้องใช้วิธีการชนเครื่องบินขับไล่ลำที่ตนขับมานั้นเข้ากับเครื่องบินที่ถูกจี้ และดีดตัวออกจากเครื่องในช่วงสุดท้าย ในการสัมภาษณ์นักบินเครื่องบินขับไล่ที่ตอบสนองจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติส นักบินคนหนึ่งกล่าวว่า "จะไม่มีใครเรียกเราว่าวีรบุรุษ หากเรายิงเครื่องบินทั้งสี่ลำในวันที่ 11 กันยายน"
อาคารสามหลังในกลุ่มอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลงมาเพราะความเสียหายทางโครงสร้าง ตึกใต้ถล่มลงเมื่อเวลา 9.59 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 56 นาที ซึ่งเกิดจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคาร ตึกเหนือถล่มลงมาเมื่อเวลา 10.28 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 102 นาที เมื่อตึกเหนือถล่ม เศษซากปรักหักพักตกลงมาโดนอาคาร 7 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้อาคารเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ ไฟเหล่านี้ลุกไหม้นานหลายชั่วโมง เป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร กระทั่ง 7WTC ถล่มลงมาเมื่อเวลา 17.21 น.

อากาศยานทุกลำภายในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถูกสั่งห้ามขึ้นบิน และอากาศยานที่กำลังบินอยู่ถูกบังคับให้ลงจอดทันที อากาศยานพลเรือนระหว่างประเทศทุกลำหันหลังกลับหรือเปลี่ยนเส้นทางไปยังท่าอากาศยานในแคนาดาหรือเม็กซิโก และเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกห้ามลงจอดบนแผ่นดินสหรัฐเป็นเวลาสามวัน เหตุโจมตีสร้างความสับสนอย่างกว้างขวางในหมู่สำนักข่าวและผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ในบรรเรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันและมักขัดแย้งกันที่ออกอากาศทั้งวันนั้น หนึ่งในข่าวที่แพร่หลายที่สุดว่า มีคาร์บอมบ์ถูกจุดระเบิดที่สำนักงานใหญ่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี เครื่องบินอีกลำหนึ่ง เดลตาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 1989 ต้องสงสัยว่าถูกจี้เครื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าไม่จริง หลังเครื่องตอบรับผู้ควบคุมและลงจอดอย่างปลอดภัยในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ

ในการสัมภาษณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 คาลิด ซีกห์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) และรอมซี บิน อัล-ชิบฮ์ (Ramzi bin al-Shibh) ผู้ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นผู้จัดการโจมตี กล่าวว่า เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ของเที่ยวบินที่ 93 คือ อาคารรัฐสภาสหรัฐ มิใช่ทำเนียบขาวระหว่างขั้นวางแผนการโจมตี ฮาเหม็ด อัตตา (Mohamed Atta) โจรจี้เครื่องบินและนักบินเที่ยวบินท่ 11 คิดว่าทำเนียบขาวอาจเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป และสอบถามการประเมินจาก Hani Hanjour ผู้ซึ่งภายหลังจี้เครื่องบินและเป็นนักบินของเที่ยวบินที่ 77โมฮัมเหม็ดยังว่า เดิมอัลกออิดะฮ์วางแผนจะพุ่งเป้าไปยังโรงงานนิวเคลียร์แทนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน แต่ตัดสินใจคัดค้าน ด้วยเกรงว่าทุกสิ่งอาจ "อยู่นอกเหนือการควบคุม ตามข้อมูลของโมฮัมเหม็ด การตัดสินใจเลือกเป้าหมายครั้งสุดท้ายอยู่ในมือของนักบิน

ผู้เสียชีวิต

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,996 คนจากเหตุวินาศกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วยโจรจี้เครื่องบิน 19 คน และเหยื่อ 2,977 คน เหยื่อนี้แบ่งเป็น 246 คนบนเครื่องบินทั้งสี่เครื่อง (ซึ่งไม่มีผู้รอดชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว), 2,606 คนในนครนิวยอร์ก ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในอาคารระฟ้าทั้งสองและบนพื้นดิน และ 125 คนที่อาคารเพนตากอน เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน แต่มีทหาร 55 นายเสียชีวิตที่เพนตากอน
คนงานและผู้เยี่ยมชมมากกว่า 90% ที่เสียชีวิตในหอคอยทั้งสองนั้นอยู่บนหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกเครื่องบินชน ในอาคารเหนือ มี 1,355 คนอยู่ในชั้นหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกชน ซึ่งติดอยู่หรือเสียชีวิตด้วยการสูดหายใจเอาควันเข้าไป ตกลงหรือกระโดดออกจากอาคารเพื่อหนีควันและเปลวไฟ หรือเสียชีวิตหลังอาคารถล่มลงมาหลังจากนั้น มีอีก 107 คนที่อยู่ต่ำกว่าชั้นที่ถูกชนไม่รอดชีวิต ในอาคารใต้ มีปล่องบันไดปล่องหนึ่งยังไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้มี 18 คนหลบหนีจากชั้นเหนือกว่าชั้นที่ถูกชนได้ ในอาคารใต้มีผู้เสียชีวิต 630 คน น้อยกว่าครึ่งเหนือของผู้เสียชีวิตในอาคารเหนือ ผู้เสียชีวิตในอาคารใต้ลดลงอย่างมากจากการตัดสินใจของผู้ที่ทำงานอยู่ภายในซึ่งเริ่มอพยพเมื่ออาคารเหนือถูกเครื่องบินชน

ลำดับเหตุการณ์

วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว แต่อาคารเพนตากอน ก็ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้เครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกปล้นด้วยแต่ไม่สามารถชนอาคารได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต
เครื่องบินที่ถูกปล้นทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757-200 (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น
ลำดับเหตุการณ์ตามเวลาประเทศไทยในเหตุการณ์พอจะสรุปได้ดังนี้

11 กันยายน

แผนที่เส้นทางการบินของเครื่องบินที่ถูกปล้น
  • 19:45 น. เครื่องบินโดยสารของอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 จากบอสตันเข้าชนอาคารเหนือ (อาคาร 1 เป็นอาคารที่มีเสาอากาศเห็นได้ชัด) ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วฉีกตัวอาคารเป็นช่องพร้อมทั้งเกิดเพลิงไหม้
  • 20:03 น. เครื่องบินโดยสารของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนอาคารใต้ (อาคาร 2) ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และเกิดระเบิดรุนแรง
  • 20:43 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 77 ของอเมริกันแอร์ไลน์ ชนอาคารเพนตากอน เกิดควันไฟพวยพุ่ง มีการอพยพคนในทันที
  • 20:45 น. มีการอพยพคนที่ทำเนียบขาว
  • 21:05 น. อาคารใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลง ท้องถนนปกคลุมด้วยกลุ่มควัน
  • 21:10 น. บางส่วนของอาคารเพนตากอนถล่ม ขณะเดียวกันก็มีรายงานการตกของเครื่องบินโดยสารของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ที่เขตชนบทของซอมเมอร์เซ็ต รัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพิตส์เบิร์ก
  • 21:13 น. อาคารที่ทำการของสหประชาชาติเริ่มขนย้ายผู้คน โดยเป็นคนของสำนักงานใหญ่จำนวน 4,700 คน และจากยูนิเซฟกับฝ่ายอื่นของสหประชาชาติอีก 7,000 คน
  • 21:28 น. อาคารเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถล่มยุบตัวลงคล้ายถูกตอกด้วยเสาเข็มจากด้านบน เกิดฝุ่นอันหนาทึบ และเศษหักพังกระจายไปทั่ว
  • 21:45 น. อาคารที่ทำการของรัฐทุกอาคารในวอชิงตันอพยพคนทั้งหมด
  • 21:48 น. ตำรวจได้ยืนยันว่ามีเครื่องบินตกที่ซอมเมอร์เซ็ต
  • 21:53 น. มีการประกาศเลื่อนการเลือกตั้งขั้นต้นของนิวยอร์ก
  • 22:18 น. อเมริกัน แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกปล้น โดยเที่ยวบินที่ 11 เป็นเครื่องโบอิ้ง 767-200ER มีลูกเรือ 11 คน และผู้โดยสาร 81 คน ซึ่งกำลังเดินทางไปยังลอสแอนเจลิส ส่วนเที่ยวบินที่ 77 เป็นเครื่อง 757-200 กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิส โดยมีผู้โดยสาร 58 คน ลูกเรือ 6 คน เครื่อง 767-200ER เป็นลำที่ชนอาคารเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และเครื่อง 757-200 ชนอาคารเพนตากอน
  • 22:26 น. ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกปล้นว่า เที่ยวบินที่ 93 ออกจากนิวอาร์ก รัฐเดลาแวร์ ไปยังซานฟรานซิสโก และตกที่เพนซิลวาเนีย
  • 22:59 น. ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินเที่ยวบินที่ 175 ที่กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิสว่า มีผู้โดยสาร 56 คน ลูกเรือ 9 คน โดยเป็นลำที่ชนอาคารใต้ของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์
  • 23:04 น. สนามบินลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบิน 3 ลำ อพยพคนทั้งหมด
  • 23:15 น. สนามบินซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบินเที่ยวบินที่ 93 อพยพคนทั้งหมด
12 กันยายน
  • 03:10 น. อาคาร 7 ซึ่งมี 47 ชั้นของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เกิดเพลิงไหม้
  • 04:20 น. อาคาร 7 ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่มีคนอยู่แล้วได้ถล่มลงมา โดยเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากอาคาร 1 และอาคาร 2 (อยู่คนละฝั่งถนน) ถล่มลงก่อนหน้านี้ และอาคารรอบ ๆ บริเวณก็มีเพลิงไหม้ด้วย
  • 04:30 น. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรายงานว่าเครื่องบินที่ตกในเพนซิลวาเนียอาจจะมีเป้าหมายในการชน แคมป์เดวิด หรือ ทำเนียบขาว หรือ อาคารรัฐสภา อาคารใดอาคารหนึ่ง
  • 06:45 น. ตำรวจนิวยอร์กรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่สูญหาย 78 นาย และเชื่อว่าพนักงานดับเพลิงประมาณ 200 นายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
  • 08:22 น. เพลิงไหม้ที่อาคารเพนตากอนยังควบคุมไม่ได้ แต่สามารถจำกัดเขตการลุกลามได้แล้ว
ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้ออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ โดยขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"
ต่อมามีรายงานว่าอาคารอื่น ๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยอาคาร 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า อาคาร 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544)

ปัญหาของอาเซียนและความพยายามแก้ปัญหา

ปัญหาของอาเซียนและความพยายามแก้ปัญหา
 
อาเซียนมีปัญหาภายในที่ขัดต่อเป้าหมายของประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก และเป็นปัญหาที่กระทบภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของอาเซียน และอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้างบทบาทนำของอาเซียนในอนาคต ปัญหาหลักที่อาเซียนถูกวิจารณ์จากภายนอกมาโดยตลอด ได้แก่ ปัญหาด้านเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในพม่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ถูกต้อง ปัญหาการทุจริต ขาดความโปร่งใสในการทำงาน ปัญหาความสัมพันธ์ภายในของประเทศสมาชิก ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน และปัญหาจากอิทธิพลของประเทศนอกกลุ่ม
ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่ามีสาเหตุมาจากทั้งด้านการเมืองและความหลากหลายทางเชื้อชาติในพม่า โดยพม่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ จำนวนมาก กลุ่มชาติพันธุ์หลักมี 19 ชาติพันธุ์ ซึ่งสามารถแยกย่อยลงไปได้ถึง 135 ชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในพม่าที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก คือ ชาวโรฮิงยา รัฐธรรมนูญพม่าไม่ได้นับรวมชาวโรฮิงยาเป็นกลุ่มชนพื้นเมืองของพม่า ทำให้ชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสัญชาติพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล นอกจากนี้ ชาวโรฮิงยาจำนวนมากถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้ค่าแรง ถูกจำกัดสิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิในการเข้าถึงการศึกษา การรักษาโรค การห้ามแต่งงาน และไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศไปทำงานได้
ชาวโรฮิงยาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และถูกปราบปรามอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ทำให้ชาวโรฮิงยาจำนวนมากลี้ภัยไปประเทศอื่น เช่น บังกลาเทศ ปากีสถาน ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ชาวโรฮิงยาที่อพยพไปมาเลเซียและบังกลาเทศมีจำนวนนับแสนคน ทำให้ทั้งสองประเทศประสบปัญหาการดูแลและการรับมือกับผู้อพยพอย่างมาก มาเลเซียเป็นประเทศที่ชาวโรฮิงยาอยากไปทำงานมากที่สุด ส่วนอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของโลกก็ต้องเผชิญกับปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงยาจำนวนมากเช่นกัน สำหรับประเทศไทย ได้มีชาวโรฮิงยาอพยพประมาณ 10,000 - 15,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระนอง
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวโรฮิงยาไม่ได้เกิดขึ้นในพม่าเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในประเทศที่อพยพไปอยู่ด้วย ทั้งนี้มีสาเหตุเกิดจากการที่รัฐบาลพม่าไม่รับรองชาวโรฮิงยา จึงไม่ถูกจ้างงานตามกฎหมาย ต้องกลายเป็นแรงงานเถื่อน ส่งผลให้ถูกกดขี่ง่ายขึ้น และทำให้ปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายเพิ่มขึ้น ในทศวรรษ 2530 มาเลเซียมีนโยบายที่ค่อนข้างประนีประนอมกับชาวโรฮิงยา แต่จำนวนผู้อพยพที่มากขึ้นรวมทั้งปัญหาต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นจากผู้อพยพ ทำให้มาเลเซียมีนโยบายสกัดกั้นมิให้ชาวโรฮิงยาลักลอบเข้ามาทางทะเล ส่วนชาวโรฮิงยาที่หลบหนีไปบังกลาเทศก็ถูกส่งกลับเช่นกัน
หลายประเทศมีค่ายผู้อพยพ แต่ก็ไม่สามารถรองรับกับจำนวนผู้ลี้ภัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการส่งชาวโรฮิงยากลับไปพม่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) พยายามเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ช่วยเหลือและรับชาวโรฮิงยาไว้ด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม แต่สหประชาชาติก็ไม่สามารถห้ามการส่งกลับได้
ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้รับผลกระทบจากผู้อพยพชาวโรฮิงยาและองค์กรต่างๆ ได้เสนอให้อาเซียนมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้นต่อปัญหาในพม่า เพราะต้นเหตุของปัญหา คือ การที่รัฐบาลพม่าปฏิบัติไม่เป็นธรรมและละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการไม่แสดงท่าทีรับผิดชอบหรือรับรู้ต่อปัญหาของรัฐบาลพม่า อาเซียนจึงควรมีมาตรการลงโทษพม่าจากเบาไปหาหนัก เริ่มจากการแสดงความไม่เห็นด้วย การประณามอย่างรุนแรงและจริงจังเพื่อกดดันรัฐบาลพม่า การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากประเทศอื่นที่ทำการค้าการลงทุนกับพม่าด้วยจึงจะสำเร็จโดยเฉพาะจีน อินเดีย และรัสเซีย
นอกจากนี้ อาเซียนควรใช้กลไกของอาเซียนให้เป็นประโยชน์โดยให้อาเซียนทรอยกาหรือกลุ่มประเทศผู้ประสานงานอาเซียน ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อความคล่องตัวในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่ออาเซียน แสดงบทบาทในการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาในกรณีนี้ รวมทั้งอาเซียนควรส่งคณะผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือตัวแทนอาเซียน เช่น เลขาธิการอาเซียนเข้าไปดูสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าและควรผลักดันให้มีการประชุมร่วมกันระหว่างอาเซียนกับสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดีย เพื่อหาทางร่วมกันในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนปัญหาชาวโรฮิงยาก็ยังต้องมีการร่วมทำงานกันระหว่างรัฐบาลพม่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และประเทศที่ได้รับผลกระทบทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย โดยเฉพาะการกดดันให้พม่าแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ อาเซียนควรเป็นสื่อกลางให้สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ เข้ามาทำหน้าที่ดูแลค่ายผู้อพยพทั้งในบังกลาเทศและบริเวณชายแดนไทย-พม่า 
 
อาเซียนยังตั้งความหวังว่ากฎบัตรอาเซียนเป็นเสมือนธรรมนูญของประชาคมอาเซียน จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาสิทธิมนุษยชนในพม่า เพราะกฎบัตรอาเซียนจะทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีกฎกติกาชัดเจน และเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดข้อปฏิบัติของประเทศสมาชิกอย่างเฉพาะเจาะจง เพื่อเพิ่มความกดดันแก่ประเทศสมาชิกที่มีปัญหาอย่างพม่า เป้าหมายของการเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประการหนึ่ง คือ การสร้างสังคมที่เอื้ออาทร ยอมรับความแตกต่างที่หลากหลายของพลเมืองอาเซียน ดังนั้น อาเซียนต้องมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมเรื่องการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับรัฐบาลของชาติสมาชิกและพลเมืองอาเซียน เพื่อไม่ให้มีการกดขี่ หรือการแสดงการเหยียดหยามเชื้อชาติหรือศาสนา และต้องต่อต้านการใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาเพราะผู้ที่ถูกกดดันจะใช้ความรุนแรงตอบโต้กลับมา
 
แม้ว่าอาเซียนจะตั้งขึ้นมาจากเหตุผลทางการเมือง แต่ที่ผ่านมาบทบาทของอาเซียนที่โดดเด่นที่สุด คือ บทบาทด้านเศรษฐกิจ ความสำคัญทางเศรษฐกิจของอาเซียนต่อเศรษฐกิจโลก คือ เป็นฐานการผลิต เป็นแหล่งลงทุนขนาดใหญ่ของนักลงทุนทั้งภายในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ที่เข้าไปลงทุนในหลายชาติอาเซียน และนักลงทุนนอกภูมิภาค ที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป เกาหลี และการส่งออกวัตถุดิบ เพราะอาเซียนมีแรงงานฝีมือดี ค่าแรงและวัตถุดิบมีราคาไม่แพง เช่น ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ขณะเดียวกันอาเซียนก็นำสินค้าที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศคู่ค้าอย่างสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา นอกจากนี่ ด้วยประชากรเกือบ 600 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของประชากรโลก อาเซียนจึงเป็นตลาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อมาก มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) คิดเป็นร้อยละ 22 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก
  
อาเซียนมีทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย เป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญที่ผลิตอาหารและสินค้าเกษตรหลากหลายชนิด ที่สำคัญ คือ เป็นผู้ส่งออกข้าวและยางพาราที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย พม่า มีทรัพยากรน้ำมัน สิงคโปร์มีเศรษฐกิจร่ำรวยมั่นคง และเป็นศูนย์ทางการเงินการลงทุนของภูมิภาค นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความสัมพันธ์ที่ดีทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมกับกลุ่มประเทศมุสลิม เนื่องจากมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ และอินโดนีเซียเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดและมีความใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ของโลก ซึ่งเป็นผลดีต่อการขยายตลาดของอาเซียน
 
บทบาทด้านการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
 
การรวมกลุ่มของอาเซียนประสบความสำเร็จมากในด้านเศรษฐกิจ อาเซียนพยายามเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง และพยายามที่จะสร้างอำนาจในการต่อรองทางเศรษฐกิจในระดับโลก โดยมีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อให้เกิดการเป็นตลาดเดียว เริ่มจากการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area-AFTA) เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและอำนาจต่อรองของอาเซียน แต่อาเซียนมีเป้าหมายสูงสุด คือ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจ เพื่อการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง ซึ่งจะนำไปสู่การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจภายในกลุ่มอาเซียนและสร้างความเข้มแข็งแก่อาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก
นอกจากการสร้างความร่วมมือภายในอาเซียนแล้ว อาเซียนยังเน้นการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศและกลุ่มประเทศนอกกลุ่ม ทั้งการมีความสัมพันธ์แบบทวิภาคี เช่น อาเซียนกับจีน และความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศและกับองค์กรเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่น ที่สำคัญ ได้แก่
ความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3)
 
เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 2,068 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31 ของประชากรโลก มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) คิดเป็นร้อยละ 18 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก
 
ความร่วมมืออาเซียน+6 (ASEAN+6)
 
เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ส่งผลให้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น 1 ใน 4 ของโลก คือ มีมูลค้าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) คิดเป็นร้อยละ 22 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก มีจำนวนประชากรมากเป็นครึ่งหนึ่งของประกรโลก คือ 3,284 ล้านคน
 
ความสัมพันธ์ทวิภาคี
 
อาเซียนมีความสัมพันธ์ทวิภาคีในลักษณะของคู่เจรจากับอีก 9 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย และรัสเซีย รวมทั้งมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปและลาตินอเมริกา
 
เป้าหมายทางเศรษฐกิจของอาเซียน
 
แม้อาเซียนจะมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศต่างๆ แต่กล่าวได้ว่าในบรรดาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเหล่านี้ อาเซียนไม่ใช่องค์กรที่มีบทบาทนำหรือมีอำนาจในการต่อรองสร้างเงื่อนไขในทางเศรษฐกิจ แม้อาเซียนจะมีความร่วมมือในการทำข้อตกลงการค้ากับประเทศหรือกลุ่มประเทศต่างๆ แต่อาเซียนยังไม่สามารถเพิ่มบทบาทของตนเองให้กลายเป็นศูนย์กลางในการต่อรองหรือมีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าคู่เจรจา ต่างจากประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เช่น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดียที่มีอำนาจต่อรองมากกว่า ดังนั้น การเพิ่มบทบาทนำทางเศรษฐกิจจึงเป็นจุดมุ่งหมายของอาเซียน โดยคาดหวังว่าเมื่อรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้วจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มประเทศเป็นผลดี เพราะจะได้ไม่ถูกโดดเดี่ยว ดังเช่น รัสเซียที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปทำให้ไม่ได้สิทธิพิเศษทางการค้าและภาษีศุลกากรเหมือนประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปชาติอื่น รัสเซียจึงต้องหาทางสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าทั้งกับสหภาพยุโรป และเรียกร้องให้อาเซียนเริ่มเปิดการเจรจาการค้าเสรีกับตนโดยเร็ว รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์อาเซียนด้านเศรษฐกิจ ใน พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นเขตที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก อาเซียนตระหนักว่าแม้จะมีสมาชิก 10 ประเทศ แต่อาเซียนต้องหลอมรวมกับโลกทั้งหมดซึ่งอาเซียนจำเป็นต้องมีนโยบายเร่งปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและข้อเรียกร้องของประเทศคู่ค้า รวมทั้งเร่งแก้ปัญหาทางสังคมและการเมืองที่ทำให้อาเซียนถูกวิจารณ์ โดยเฉพาะปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เป้าหมายทางเศรษกิจของอาเซียน

เป้าหมายทางเศรษกิจของอาเซียน
 
ในปี 2546 อาเซียนได้กำหนดทิศทางที่แน่ชัดว่า ความร่วมมือจะต้องเดินทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2558 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อีกสองเสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) และได้มีการจัดทำกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อการดำเนินงานไปสู่ประชาคมอาเซียน
เป้าหมายสำคัญของการเป็น AEC
การที่อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) อาเซียนได้จัดทำแผนงานในเชิงบูรณาการในด้านเศรษฐกิจต่างๆ หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 เรื่อง ดังนี้
  1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม - ให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
  2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอาเซียน - การสร้างความสามารถในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ)
  3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค - การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิก และลดช่องว่างของระดับการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่า และใหม่ เช่น การสนับสนุนการพัฒนา SMEs
  4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก - การร่วมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก โดยเน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี และการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่าย เป็นต้น
ผลผูกพันต่อประเทศไทยในการรวมตัวเป็น AEC
  1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า ภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA)
    มาตรการด้านภาษี อาเซียนมีเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการยกเลิกภาษีสินค้าสำหรับกลุ่มอาเซียน 6 ภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) และสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งไทยได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้นสามารถกล่าวได้การรวมตัวกันเป็น AEC จึงไม่ทำให้ไทยต้องลดภาษีสินค้าใดๆ เพิ่มเติมอีกโดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในปี 2558

    มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) อาเซียนได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกมีการลดมาตรการ NTMs โดยได้ไทยได้ผูกพันการยกเลิกมาตรการ NTMs ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการโควต้าภาษีของสินค้าเกษตร 3 ชุด โดยต้องยกเลิกมาตการโควต้าในปี 2551 2552 และ 2553 ในขณะนี้ประเทศไทยได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วเกือบทั้งหมด ยังขาดเพียงแต่ ข้าว ที่กำลังอยู่ระหว่างการหารือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการหาแนวทางและมาตรการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีการยกเลิกมาตการดังกล่าว
  2. การเปิดเสรีการค้าบริการ โดยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนอาเซียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2553 ในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sector) ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาสุขภาพ และสาขาการท่องเที่ยว ภายในปี 2556 ในสาขาโลจิสติกส์ และภายในปี 2558 ในสาขาบริการอื่น ๆ ทุกสาขา ทั้งนี้ สามารถยกเว้นสาขาที่อ่อนไหวได้
  3. การเปิดเสรีการลงทุน ในสาขาอุตสาหกรรมที่ตกลงกันและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ
  4. การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย จะเปิดเสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้สมาชิกมีมาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบ
  5. การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแต่ละประเทศ
  6. การดำเนินการตามความร่วมมือรายสาขาอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ ความร่วมมือด้าน SMEs การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (คมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน) เป็นต้น
ความเกี่ยวข้องและบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมในบริบทของ AEC
  1. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้เข้าร่วมในการเจรจา/เสนอแนะท่าทีเพื่อกำหนดระยะเวลาในการลดภาษี และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าที่เหมาะสมในการเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้ง เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation Scheme) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียน และสนับสนุนการแบ่งผลิตและการใช้วัตถุดิบในภูมิภาค
  2. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทย ซึ่งรับผิดชอบในการอำนวยความสะดวกด้านการค้า ลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
  3. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เป็นหน่วยงานหลักฝ่ายไทยที่รับผิดชอบเรื่องการเปิดเสรีสาขาการลงทุน
  4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) รับผิดชอบความร่วมมือด้านแร่ธาตุของอาเซียน
  5. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมกำหนดแผนงานความร่วมมือและดำเนินงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียน
ผลกระทบของ AEC และการปรับตัวของอุตสาหกรรมไทย
ผลกระทบเชิงบวก
  1. การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีในปี 2553 เป็นร้อยละ 0 ทั้งหมดยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวมาก (Sensitive and Highly Sensitive) ของกลุ่มอาเซียน 6 รวมทั้งประเทศไทย และ 2558 สำหรับกลุ่ม CLMV เป็นการอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ เป็นการเพิ่มโอกาสในการส่งออกของไทย โดยตลาดอาเซียนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย ทั้งนี้ ในปี 2553 มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนมีจำนวน 2.37 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 22.7 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของไทย (เพิ่มจากร้อยละ 20 ในปี 2552)
  2. ต้นทุนในการผลิตของไทยต่ำลง สามารถนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิต ได้ในราคาที่ถูกลง
  3. เป็นการสร้างเสริมโอกาสการลงทุนเมื่อประเทศอาเซียนมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรีมากยิ่งขึ้น
  4. เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ๆ
  5. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก
ผลกระทบเชิงลบ
  1. สินค้าของประเทศอาเซียนอื่นเข้าสู่ตลาดไทยได้โดยไม่มีภาระภาษี ทำให้ผู้ประกอบการไทยต้องแข่งขันมากขึ้น แต่ที่ผ่านมาไทยกลับมีมูลค่าการส่งออกไปยังอาเซียนสูงกว่าการนำเข้าจากอาเซียน
  2. ในด้านการลงทุน หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน (Labor productivity) และไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบกฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ใน ASEAN ที่เหมาะสมกว่า
  3. การเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน และต้องจ้างแรงงานต่างด้าวจากประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าเข้ามา อาจก่อปัญหาด้านสังคม และเนื่องจากทิศทางนโยบายของไทยคือ การเป็น “รัฐสวัสดิการ” ทำให้งบประมาณของรัฐส่วนหนึ่งจะไปเป็นสวัสดิการของแรงงานต่างด้าว
  4. ตลาดสินค้าในประเทศ (Domestic Market) หากตลาดภายในของไทยยังไม่มีกลไกในการป้องกันไม่ให้สินค้าคุณภาพต่ำกว่าที่ผลิตได้ในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้ามาขายในประเทศมากขึ้น ก็จะทำให้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่มีเป้าหมายในการพัฒนาในอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้นอาจเกิดปัญหาอุปสรรคได้ เนื่องจากไม่มีตลาดภายในประเทศรองรับ รวมทั้งอาจส่งผลทางจิตวิทยาแก่ผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตได้
ภาคอุตสาหกรรมไทยจำเป็นต้องมีการปรับตัวดังนี้
  1. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ทั้งในด้านแรงงาน เทคโนโลยี รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลก เพื่อที่จะสามารถแข่งขันได้
  2. การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคและระบบโลจิสติกส์เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ
  3. หาตลาดส่งออก ปรับปรุงการผลิตให้สามารถปฏิบัติตามกฎถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนได้ รวมถึงการบริหารจัดการ การจัดหาวัตถุดิบราคาถูกและมีคุณภาพดีในภูมิภาค
  4. การปรับปรุงโครงสร้างภาษีของไทยทั้งระบบเพื่อให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย
  5. ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการผลิต (Production Network) เพื่อให้สามารถสร้าง Economy of Scale เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
  6. ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิตการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
  7. มีกลไกที่ก่อให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าสู่ตลาดภายในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
 


บทบาทด้านการสร้างความร่วมมือทางเศรษกิจกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน

กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 2007 (พ.ศ.2550)

ผู้นำของประเทศสมาชิกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2 (Second Joint Statement on East Asia Cooperation: Building on the Foundations of ASEAN Plus Three Cooperation) พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน (ASEAN+3 Cooperation Work Plan (2007 – 2017)) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระยะยาว และผลักดันให้เกิดชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา และด้านการส่งเสริมกรอบการดำเนินงานในด้านต่างๆและกลไกต่างๆ ในการติดตามผล โดยแผนความร่วมมือดังกล่าวทั้ง 5 ด้านนี้ ถือเป็นการประสานความร่วมมือและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนกับประเทศในเอเชียตะวันออกมากยิ่งขึ้น

อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

จากความร่วมมือดังกล่าวประเทศสมาชิกอาเซียน จะได้รับผลประโยชน์จากความร่วมมือในกรอบของเขตการค้าเสรีอาเซียนบวก+3 (FTA Asian +3) มูลค่าประมาณ 62,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และประเทศไทยในฐานะสมาชิกอาเซียนจะได้รับประโยชน์มากที่สุด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7,943 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อินโดนีเซียมีแนวโน้มจะได้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 7,884 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเวียดนามคาดว่าจะได้รับประโยชน์มูลค่าประมาณ 5,293 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการประชุมรัฐมนตรีคลังอาเซียน + 3 สมัยพิเศษ (Special ASEAN+3 Financial Ministers Meeting) ที่ จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ผ่านมา ได้มีการสนับสนุนการใช้เวทีหารือด้านนโยบายและกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ของภูมิภาคอาเซียน อาทิ ข้อริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐมนตรีคลังสนับสนุนให้มีกระบวนการเฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับสถาบันการเงินในภูมิภาคและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งข้อริเริ่มเชียงใหม่ ที่รัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 จำเป็นจะต้องเร่งรัดกระบวนการไป สู่ระดับพหุภาคี เพื่อเป็นกันชนรองรับเศรษฐกิจอ่อนแอในอนาคต

ทั้งนี้ที่ประชุมมีข้อสรุปว่า จะขยายผลความตกลงริเริ่มเชียงใหม่ในการจัดตั้งกองทุนสำรองระหว่างประเทศร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน (Currency Swap) จากเดิม 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท เบื้องต้นคาดว่า 3 ประเทศนอกกลุ่มอาเซียน คือจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น จะลงเงินสำรองร้อยละ 80 ของวงเงิน รวม หรือ 9.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลุ่มประเทศอาเซียนอีกร้อยละ 20 หรือ 2.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะมีรูปแบบคล้ายกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund :IMF) แต่ก็ไม่ใช่คู่แข่งของ IMF แต่จะเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของเอเชียที่จะมีกองทุนระหว่างประเทศเป็นของตนเอง โดยประเทศจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ลงเงินรวมกันประมาณร้อยละ 80 ส่วนอีกร้อยละ 20 ที่เหลือกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ จะลงทุนร่วมกัน ขณะที่ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จะต้องใส่เงินลงทุนมากกว่าอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน พม่า ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า โดยคาดว่าจะสามารถเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณารัฐมนตรีคลังอาเซียน+3 วาระปกติที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในเดือนพฤษภาคม 2552

***สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย/กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ/กระทรวงการต่างประเทศ/หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน


ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 เราทุกคนควรรู้จักเกร็ดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น และที่กระปุกดอทคอม จะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกันในวันนี้ก็คือ เรื่องราวของ "อาเซียน +6" ที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า "อาเซียน +6" นี้คืออะไร หากใครยังไม่รู้จัก ตามมาอ่านกันเลย


อาเซียน +6

สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น


ความเป็นมาของ อาเซียน +6

ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA)

ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ

เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization) ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA)

ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป


ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6

จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%


นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้


1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)

2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย

บทบาททางเศรษฐกิจของ อาเซียน สังคมโลก

บทบาททางเศรษฐกิจของ อาเซียน สังคมโลก

วัตถุประสงค์ของ ASEAN               
(1) เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม
(2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
(3) เพื่อส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบิหาร เป็นต้น

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน
อาเซียนเริ่มดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังในปี ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) โดยเริ่มด้วยโครงการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันโดยสมัครใจ (ASEAN PTA) และมีโครงการอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโครงการ เช่น
2.2.1 โครงการาเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
2.2.2 โครงการเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA)
2.2.3 โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO)
2.2.4 กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e – ASEAN Framework Agreement)
2.2.5 การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียน (Facilitation of Goods in Transit)
2.2.6 การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
2.2.7 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาพกลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ)
2.2.8 โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย
2.2.9 โครงการส่งเสริมตลาดการค้า การลงทุนสินค้าอุตสาหกรรมอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ซึ่งโครงการเหล่านี้เน้นเรื่องการลดภาษีนำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง ทำให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกลง รวมทั้งให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมอย่างเสรีในอาเซียนตามกรอบเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งจะเป็นการดึงดูดการลงทุนและขยายการค้าระหว่างกันในอาเซียนเพิ่มขึ้น
โครงการเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
ASEAN PTA ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 นั้น ปรากฎว่ารายการสินค้าที่ประเทศสมาชิกให้สิทธิพิเศษ ฯ มักไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศสมาชิก เป็นเหตุให้การค้าไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ดังนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27 – 28 มกราคม 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทย (นายอานันท์ ปันยารชุน) ที่ประชุมอาเซียนได้ตกลงที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ขึ้น และได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษเท่ากัน สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area : AFTA)
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียน
2) จูงใจการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาค
3) เสริมให้มีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อประสิทธิภาพการผลิดของประเทศสมาชิก
4) เพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ
เป้าหมาย
ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลืออัตราร้อยละ 0 – 5 สำหรับสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภท ภายในเวลา 10 ปี และยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ทันทีที่สินค้านั้นมีอัตรภาษีร้อยละ 20 หรือ ต่ำกว่า แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายใน 5 ปี
(1) เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าของอาเซียนในตลาดโลก โดยมีหลักการสำคัญ คือ ลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงเหลือ 0 – 5 % สำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภทภายใน 10 ปี (ปี พ.ศ.2536 – พ.ศ.2546) ยกเว้นสินค้าเกษตร, ไม้แปรรูปที่อ่อนไหว (Sensitive Products) ซึ่งจะเริ่มนำเข้ามาลดภาษีในปี พ.ศ.2544 – พ.ศ.2546 (ค.ศ.2001 – ค.ศ.2003) และลดภาษีให้เหลือ 0 – 5 % ในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ส่วนสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive Products) ซึ่งมีอยู่รายการเดียวคือ ข้าว จะเริ่มต้นลดภาษีช้ากว่า มีอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่า 5 % และมีมาตรการคุ้มกันพิเศษ ทั้งนี้กำหนดการดังกล่าวเป็นของสมาชิกเดิม ส่วนสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ จะมีกำหนดเวลาที่ช้ากว่าสมาชิกเดิม เนื่องจากเข้าร่วม AFTA ช้ากว่า
(2) ภายหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อเร่งรัดการลงทุนในระยะสั้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจ อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยให้สมาชิกเดิมลดภาษีเป็น 0 – 5 % เร็วขึ้น 1 ปี จากปีพ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) เป็นปี พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) ส่วนสมาชิกใหม่ให้พยายามลดภาษีเหลือ 0 – 5 % ให้มากที่สุดภายในปี พ.ศ.2546(ค.ศ.2003) สำหรับเวียดนาม และปี พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) สำหรับลาวและพม่า ตามลำดับ และอาเซียนยังได้ตกลงให้ AFTA เป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยให้ลดภาษีเหลือ 0 % ทุกรายการภายในปีพ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และ ปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) สำหรับสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ยกเว้นสินค้าบางรายการของสมาชิกใหม่ที่ให้ยืดหยุ่นได้ จนถึงปี พ.ศ.2561 (ค.ศ.2018)

การเสริมสร้างบทบาททางการเมืองอาเซียนในสังคมโลกในปัจจุบัน

การเสริมสร้างบทบาททางการเมืองอาเซียนในสังคมโลกในปัจจุบัน
 
อาเซียน (ASEAN)
 
ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานความสัมพันธ์อันดีที่มีอยู่ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเน้นความร่วมมือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้รับการศึกษา การอบรม มีสุขภาพสมบูรณ์และมีฐานะที่มั่นคง เพื่อให้ประชาชนชาวอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนประกอบด้วย การพัฒนาสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรมและสนเทศ สิ่งแวดล้อม และยาเสพติด ไทยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านนี้ของอาเซียน โดยได้ผลักดันโครงการที่สำคัญหลายโครงการ อาทิ การริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network) เพื่อประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาและการดำเนินกิจกรรมด้านการศึกษาระดับสูง โดยมีสำนักงานอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ ฯลฯ
อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเป็นศูนย์อบรมเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดของอาเซียน และการผลักดันให้อาเซียนยกระดับแรงงานของตน โดยการดำเนินโครงการด้านการพัฒนาทักษะแรงงานของอาเซียนให้สามารถรองรับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ ตลอดจนผลักดันให้อาเซียนเห็นพ้องร่วมกันว่าไม่ควรเชื่อมโยงเรื่องมาตรฐานแรงงานเข้ากับการค้าระหว่างประเทศตามความประสงค์ของประเทศพัฒนาแล้ว นอกจากนี้

ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียน โดยอาจกล่าวได้ว่าการประชุมผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2538 ที่กรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้นของมิติใหม่ในการพัฒนาดังกล่าว เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนแสดงเจตน์จำนงให้มีการยกระดับความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมให้ทัดเทียมกับความร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียนโดยได้ระบุไว้ใน “ปฏิญญากรุงเทพ ปี ค.ศ. 1995” และมีแนวทางการดำเนินการคือ ความไพบูลย์ร่วมกันในการพัฒนามนุษย์ ความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ซึ่งสืบเนื่องจากแนวคิดนี้ ต่อมาที่ประชุมอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำรัฐบาลอาเซียน ครั้งที่ 1 ได้เห็นชอบให้จัดตั้งมูลนิธิอาเซียนขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการศึกษาและการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของอาเซียน ซึ่งจะเสริมสร้างจิตสำนึกในความเป็นอาเซียนและขยายการติดต่อ การไปมาหาสู่กัน แนวคิดการจัดตั้งมูลนิธิอาเซียนดังกล่าว ส่วนหนึ่งพัฒนามาจากข้อเสนอจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาสังคมของนายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น และได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว


บทบาทของอาเซียนด้านมนุษย์ธรรมเเละการร่วมสร้างสันติภาพของโลก

1. บทบาทของสหประชาชาติ
1.1 สหประชาชาติเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจาก 192 ประเทศสมาชิกให้มีบทบาทหน้าที่ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติตามที่ระบุในกฎบัตรสหประชาชาติ 2 ประการคือ การแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธี (หมวดที่ 6 ว่าด้วยการระงับกรณีพิพาทโดยสันติ : ข้อ 33-38) และการดำเนินการเพื่อระงับภัยคุกคามสันติภาพ การละเมิดสันติภาพหรือการใช้กำลังรุกราน (หมวดที่ 7 ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน: ข้อ 39-51 ) ซึ่งถือเป็นมาตรการการใช้กำลังเพื่อให้เกิดสันติภาพ (peace enforcement)
1.2 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเป็นกลไกของสหประชาชาติที่มีอำนาจในการวินิจฉัยและดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อระงับ/ยุติความขัดแย้งรุนแรงที่เกิดขึ้น แม้ว่าประเทศสมาชิกสหประชาชาติจะสามารถหยิบยกปัญหาความขัดแย้งขึ้นสู่การพิจารณาของสมัชชาสหประชาชาติได้ แต่อำนาจของสมัชชาฯ จำกัดอยู่เพียงการให้คำแนะนำ โดยไม่มีอำนาจเหมือนคณะมนตรีความมั่นคงฯ
1.3 ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นหนึ่งในมาตรการของสหประชาชาติที่จะธำรงรักษาสันติภาพและ ความมั่นคงระหว่างประเทศ แต่เนื่องจากเป็นมาตรการที่กำหนดขึ้นภายหลังการก่อตั้งสหประชาชาติ จึงไม่มีระบุไว้ในกฎบัตรฯ ดังนั้น ความหมายและขอบข่ายอำนาจหน้าที่จึงเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของรูปแบบความขัดแย้งเป็นรายกรณี
1.4 ในช่วงก่อนการสิ้นสุดของสงครามเย็น บทบาท/ภาระหน้าที่ของปฏิบัติการรักษาสันติภาพจำกัดเพียง เฉพาะทางด้านทหารในการตรวจสอบ/ตรวจตรา/และรายงานการปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิงหรือข้อตกลงสันติภาพชั่วคราว การจัดตั้งและกำหนดอาณัติขอบเขตจึงเป็นปฏิบัติการตามหมวดที่ 6 ของกฎบัตรฯ (peaceful settlement) โดยยึดหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ การได้รับความยินยอม (consent) จากประเทศที่เกี่ยวข้อง การไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (impartiality) และการไม่ใช้กำลัง ยกเว้นกรณีป้องกันตัว (non-use of force)
1.5 ตั้งแต่ยุคหลังสงครามเย็น รูปแบบของความขัดแย้งได้เปลี่ยนไป โดยสาเหตุของความขัดแย้งมิได้จำกัดเฉพาะระหว่างรัฐต่อรัฐ แต่บ่อยครั้งที่เกิดจากปัญหาภายในประเทศ อาทิ ความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ/ศาสนา การละเมิดสิทธิมนุษยชน การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้านโดยตรง อาทิ ปัญหาผู้อพยพ
1.6 ผลสำเร็จของสงครามอ่าว (Gulf War) ในตะวันออกกลางเมื่อปี 2534 ทำให้สหรัฐฯ และประเทศตะวันตกผลักดันแนวความคิดเกี่ยวกับ new world order ที่มีการจัดกำลังในลักษณะ collective security system ภายใต้สหประชาชาติ (มีสหรัฐฯ และพันธมิตรกลุ่มประเทศตะวันตกเป็นแกนนำ) เพื่อทำหน้าที่ธำรงสันติภาพโลก ทั้งนี้ ได้มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงบทบาทของปฏิบัติการรักษาสันติภาพให้เน้นไปที่บทบาทการใช้กำลังเพื่อให้เกิดสันติภาพภายใต้หมวดที่ 7 ของกฎบัตรฯ มากขึ้น และสหประชาชาติเองก็พยายามผลักดันแนวความคิดดังกล่าวโดยในปี 2535 นายบรูโทรส บรูโทรส กาลี เลขาธิการฯ ในขณะนั้นได้จัดทำรายงานเรื่อง “วาระเพื่อสันติภาพ (Agenda for Peace)” เสนอให้มีการจัดตั้งกองกำลังของสหประชาชาติ (UN Army) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาสันติภาพและความมั่นคง แต่ปรากฏว่าแนวความคิดดังกล่าวถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เนื่องจากอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้กำลังในกรอบของสหประชาชาติขึ้นกับคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ประเทศมหาอำนาจเป็นสมาชิกถาวร มิได้สะท้อนความเห็นและผลประโยชน์ของสมาชิกส่วนใหญ่
1.7 ประสบการณ์ความล้มเหลวของปฏิบัติการรักษาสันติภาพในรวันดา โซมาเลีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวินา ซึ่งเป็นปฏิบัติการลักษณะการใช้กำลังเพื่อให้เกิดสันติภาพภายใต้หมวดที่ 7 ของกฎบัตรฯ เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นข้อจำกัดของปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่มาจากสาเหตุสำคัญ คือ (1) สหประชาชาติต้องพึ่งการสนับสนุนทั้งหมดจากประเทศสมาชิก ทำให้การจัดกำลังแต่ละครั้งต้องใช้เวลารวบรวมกำลังพล และอาจจะได้ไม่ครบตามที่วางแผนไว้ (2) องค์ประกอบด้านบุคลากร ยุทโธปกรณ์ และการบังคับบัญชาไม่เอื้ออำนวยให้จัดหน่วยรบที่มีประสิทธิภาพได้ (3) การปฏิบัติการลักษณะการใช้กำลังเพื่อให้เกิดสันติภาพมีระดับความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ซึ่งการสูญเสียเพียงเล็กน้อยที่เกิดกับกองกำลังอาจก่อให้เกิดกระแสสังคมภายในประเทศกดดันให้รัฐบาลต้องถอนการสนับสนุน ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติการรักษาสันติภาพนั้นๆ ต้องล้มเลิกไปในที่สุด
1.8 จุดแข็งของปฏิบัติการรักษาสันติภาพ คือ ความเป็นสากล (universality) และการได้รับความยอมรับทางการเมืองจากทุกฝ่ายของประเทศที่เกี่ยวข้อง (political acceptance) การไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และการไม่ใช้กำลัง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าบทบาทที่เหมาะสมของปฏิบัติการรักษาสันติภาพคือ การเป็นกำลังป้องปราม (deterrent force) มากกว่ากองกำลังสู้รบ เนื่องจากฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งกันต่างตระหนักดีว่าการโจมตีทำร้ายกองกำลังสหประชาชาติ จะทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาคมโลก
1.9 ปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้มีพัฒนาการจากบทบาทเดิมที่เน้นเฉพาะความพยายามในการยุติการสู้รบและความขัดแย้งมาสู่ภารกิจที่มีหลากหลายมิติ ทั้งการรักษาสันติภาพและการฟื้นฟูเสริมสร้างสันติภาพภายหลังความขัดแย้งเพื่อให้เกิดสันติภาพอย่างยั่งยืน เช่น การยุติความขัดแย้งของคู่กรณี การมีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาความมั่นคงและอำนวยความสะดวกให้เกิดระบบการเมืองและการจัดตั้งรัฐบาลท้องถิ่น การบรรเทาทุกข์เพื่อมนุษยธรรม และการพัฒนา ซึ่งเป็นภารกิจที่ซับซ้อนมากขึ้นและจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ดังนั้น สหประชาชาติจึงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปปฏิบัติการรักษาสันติภาพ เช่น การปรับโครงสร้างสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ โดยให้ Department of Peacekeeping Operations (DPKO) รับผิดชอบงานด้านการวางแผนและจัดการกองกำลังและปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และจัดตั้ง Department of Field Support (DFS) เพื่อรับผิดชอบด้าน logistics แก่กองกำลังและปฏิบัติการรักษาสันติภาพ รวมถึงบุคลากร งบประมาณ และการสื่อสาร และโครงการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ของปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (New Horizon Project) เพื่อวิเคราะห์เชิงรุกเกี่ยวกับปัญหาและความท้าทายของปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติอันเป็นผลจากสภาพปัญหาความขัดแย้งที่เปลี่ยนแปลงไป
1.10 เมื่อปี พ.ศ. 2546 สหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 29 พฤษภาคมของทุกปีเป็น “วันสากลแห่งเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติ” (International Day of United Nations Peacekeepers) เพื่อรำลึกถึงเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจและพลเรือนที่อุทิศตน รวมทั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าหน้าที่ที่พลีชีพ ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ เข้มแข็ง และเป็นมืออาชีพในภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคง แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง บรรเทาความทุกข์ยากของผู้อื่น ร่วมสร้างสันติภาพและความสงบสุขในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกตามบทบัญญัติของกฏบัตรสหประชาชาติ โดยวันที่ 29 พฤษภาคมเป็นวันที่สหประชาชาติจัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) ในบริเวณดินแดนปาเลสไตน์และอิสราเอลเพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์และติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงสงบศึก ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติมีเอกลักษณ์ประจำตัว คือ หมวกสีฟ้า ทั้งที่เป็นหมวกเหล็ก (helmet) และหมวกเบเรต์ (beret) ที่สวมใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ และตราสัญลักษณ์ของสหประชาชาติที่ติดอยู่บนแขนเสื้อ เพื่อแสดงถึงเอกภาพและความเป็นกลาง
2. บทบาทของไทยในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
2.1 ไทยเห็นว่า การดำเนินมาตรการป้องกันยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และสนับสนุนความพยายามของสหประชาชาติในการสร้างวัฒนธรรมการป้องกัน (culture of prevention) ให้เกิดขึ้นในบรรดาประเทศสมาชิกดีกว่าการรอให้ปัญหาเกิดแล้วจึงหาวิธีแก้ไข และยังเห็นว่า ปฏิบัติการรักษาสันติภาพเป็นเพียงหนึ่งในมาตรการสำคัญในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม การใช้ปฏิบัติการรักษาสันติภาพต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้วยว่าสามารถใช้กับสถานการณ์ใดได้บ้าง การจัดส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดความสูญเปล่าของงบประมาณ ดังนั้น เมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดของลักษณะของปฏิบัติการรักษาสันติภาพและทรัพยากรของสหประชาชาติ ไทยจึงเห็นว่า ในการพิจารณาจัดตั้งปฏิบัติการรักษาสันติภาพ สหประชาชาติควรมี entry & exit strategy ที่ชัดเจน
2.2 ไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในหลายภูมิภาคทั่วโลก ดังนี้
(1) United Nations Observer Group in Lebanon UNOGIL - ส่งนายทหารเข้าร่วมภารกิจในเลบานอน (เดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2501)
(2) United Nations Transition Assistance Group: UNTAG (Namibia) – ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพลเรือน (civilian police) เข้าร่วมการตรวจสอบและสังเกตการณ์การเลือกตั้งในนามิเบีย (ปี 2533)
(3) United Nations Iraq-Kuwait Observation Mission (UNIKOM) - ส่งนายทหารปีละ 7 นาย เข้าร่วมภารกิจในบริเวณชายแดนอิรัก-คูเวต (ปี 2534- 2546)
(4) United Nations Guards Contingent in Iraq (UNGCI) – ส่งนายทหารเข้าร่วมรักษาความปลอดภัยในอิรัก รวม 2 ผลัด ผลัดละ 50 นาย (ปี 2534-2537)
(5) United Nations Advance Mission in Cambodia (UNAMIC) – ส่งกองพันทหารช่างเฉพาะกิจของไทย จำนวน 705 นาย (ปี 2534-2535)
(6) United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC) -ส่งเจ้าหน้าที่พลเรือนเข้าร่วมการตรวจสอบและสังเกตการณ์การเลือกตั้งในกัมพูชา (ปี 2536)
(7) United Nations Observer Mission in South Africa (UNOMSA) - ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจพลเรือนเข้าร่วมการตรวจสอบและสังเกตการณ์การเลือกตั้งในแอฟริกาใต้ (ปี 2537)
(8) United Nations Mission in Bosnia and Herzegovina (UNMIBH) - ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมปีละ 5 นาย (ปี 2540-2545)
(9) United Nations Observer Mission in Sierra Leone (UNAMSIL) - ส่งนายทหารสังเกตการณ์ รวม 6 ผลัด ผลัดละ 3-5 นาย (ปี 2542-2548)
(10) United Nations Fijian Electoral Mission (UNFEOM) - ส่งเจ้าหน้าที่พลเรือนเข้าร่วมการตรวจสอบและสังเกตการณ์การเลือกตั้งในฟิจิ (ปี 2544)
(11) ปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์เลสเต รวม 5 ภารกิจ
  • United Nations Mission in East Timor (UNAMET) : ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 7 นายและนายทหารติดต่อ 2 นาย (ปี 2542)
  • International Force in East Timor (INTERFET) : ส่งนายทหาร 1,581 นาย (ปี 2542-2543)
  • UN Transitional Administration in East Timor (UNTAET) : ส่งนายทหาร 925 นาย (ปี 2543-2545)
  • UN Mission of Support in East Timor (UNMISET) : ส่งนายทหาร 9 ผลัด (ปี 2545-2547)
  • United Nations Integrated Mission in Timor-Leste (UNMIT) : ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 40 นาย โดยปัจจุบันมี 18 นาย (ปี 2549-ปัจจุบัน)
(12) United Nations Operations in Burundi (ONUB) - ส่งนายทหารสังเกตการณ์ ปีละ 3 นาย และกองร้อยทหารช่าง (ผลัดละ 177 นาย) (ปี 2547-2549)
(13) United Nations Political Mission in Nepal (UNMIN) - ส่งนายทหารสังเกตการณ์ 7 นาย (ปี 2550-2551)
(14) United Nations Mission in Sudan (UNMIS) - ส่งนายทหารสังเกตการณ์ ผลัดละ 10-15 นาย (ปี 2548-ปัจจุบัน)
(15) African Union-United Nations Hybrid Operation in Darfur (UNAMID) - ส่งนายทหาร ผลัดละ 15 นาย (ปี 2550-ปัจจุบัน)
(16) United Nations Stabilisation Mission in Haiti (MINUSTAH) - ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ 19 นาย (สืบเนื่องจากกรณีแผ่นดินไหวเมื่อเดือนมกราคม 2553 ซึ่งทำให้สหประชาชาติขอเพิ่มกำลังพลสำหรับภารกิจดังกล่าว) โดยมีกำหนดวาระการปฏิบัติหน้าที่ 1 ปี และได้เดินทางเข้าปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2553 (ปี 2553-ปัจจุบัน)
2.4 นอกจากนี้ ไทยได้สนับสนุนทหารราบ 1 กองพัน (812 นาย) เข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพสผมระหว่างสหภาพแอฟริกากับสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (African Union-United Nations Hybrid Operation in Darfur : UNAMID) ตามคำร้องขอของสหประชาชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2552
กองกำลังทหารไทยในนาม “กองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟูร์” ได้เข้าวางกำลังเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งพื้นที่หลักที่ไทยเข้าวางกำลัง คือ เมืองมุกจา อยู่ทางตอนใต้ของเขตดาร์ฟูร์ตะวันตก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบโล่งแจ้ง สภาพภูมิอากาศมีความคล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จำกัดการซุ่มโจมตี เอื้อต่อการตรวจการณ์ของกองกำลังไทย และมีความอุดมสมบูรณ์พอควร เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการพัฒนาและช่วยเหลือประชาชน สถานการณ์ความปลอดภัยในพื้นที่ดังกล่าวจัดอยู่ในระดับการเตรียมพร้อมปกติ

กองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟูร์ได้ปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจรักษาสันติภาพอย่างแข็งขัน โดยออกลาดตระเวนในพื้นที่ปฏิบัติการและพบปะกับประชาชนเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยและแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและน้ำ นอกจากนี้ ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ด้านงานช่าง ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างฐานปฏิบัติการและอาคารที่พัก โดยในขณะนี้ได้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว นอกจากภารกิจด้านยุทธการแล้ว กองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟูร์ ยังได้ดำเนินงานด้านกิจการพลเรือน อาทิ การจัดชุดแพทย์เดินทางเข้าพบปะกับบุคคลสำคัญในพื้นที่ปฏิบัติการในเมืองมุกจาร์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและตรวจรักษาอาการเจ็บป่วย การให้บริการน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคของโรงพยาบาลท้องถิ่น การซ่อมแซมและปรับปรุงถนนที่ชำรุดบริเวณใกล้เคียงกับฐานปฏิบัติการเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจร รวมทั้งการทำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกองกำลังเฉพาะกิจ 980 ไทย/ดาร์ฟูร์ ได้มอบผลผลิตจากแปลงสาธิตให้แก่ผู้แทนเมืองมุกจาร์ ซึ่งรับผิดชอบการให้ความช่วยเหลือมนุษยธรรมและการพัฒนาที่มาเยี่ยมชมด้วย
2.5 นอกจากการเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติแล้ว ไทยยังมีเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน 3 นาย ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสหประชาชาติให้ปฏิบัติงานในฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Department of Peacekeeping Operations: DPKO) ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก นับได้ว่าสหประชาชาติให้การยอมรับในขีดความสามารถของทหารไทย
2.6 ไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถระดมสรรพกำลังที่ต้องการในการสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้อย่างรวดเร็วทันการณ์เมื่อได้รับการร้องขอ ในปี 2541 กองบัญชาการกองทัพไทยจึงได้จัดทำความตกลงกับสหประชาชาติว่าด้วยการจัดระบบกำลังเตรียมพร้อม (UN Stand-by Arrangement System: UNSAS) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่ไทยจะต้องแจ้งความพร้อมของกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ให้ฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติทราบทุกๆ 3 เดือนเพื่อสหประชาชาติจะได้พิจารณาขอรับการสนับสนุนด้านกำลังพลในภารกิจต่างๆ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
3. บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ
3.1 ในการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ กระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานติดต่อประสานงานกับสหประชาชาติและดูแลภาพรวมของความร่วมมือระหว่างไทยกับสหประชาชาติในกรอบต่างๆ จะหารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาว่า ปฏิบัติการรักษาสันติภาพครั้งใดที่ไทยควรเข้ามีส่วนร่วม โดยพิจารณาผลกระทบด้านความมั่นคง การเสริมสร้างศักดิ์ศรีและบทบาทของประเทศในเวทีระหว่างประเทศ และการพัฒนาความรู้และความเชี่ยวชาญของหน่วยงานไทยในบทบาทเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงระหว่างประเทศ นอกเหนือจากบทบาทในด้านการกำหนดนโยบายในภาพกว้างแล้ว กระทรวงการต่างประเทศยังทำหน้าที่กระจายข่าวสารข้อมูลและวิเคราะห์พัฒนาการของปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
3.2 คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นหน่วยงานหลักของไทยที่เข้าร่วมการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ไทยมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศกำลังพัฒนาภายใต้กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement: NAM) เพื่อผลักดันประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรม การปรับอัตราค่าทดแทนกรณีเสียชีวิต/บาดเจ็บให้เป็นมาตรฐานเดียว การเร่งรัดกระบวนการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่าย การเรียกร้องให้มีการกระจายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ในฝ่ายปฏิบัติการรักษาสันติภาพให้ทั่วถึงตามภูมิภาค และการเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นประเทศสนับสนุนกำลังพลได้มีโอกาสมากขึ้นในการร่วมหารือกับคณะมนตรีความมั่นคงฯ เกี่ยวกับการกำหนดขอบข่ายอาณัติและการประเมินสถานการณ์ในการจัดตั้งภารกิจรักษาสันติภาพ
3.3 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำยุทธศาสตร์การเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ ปี 2553-2557 เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางการเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพอย่างบูรณาการ และเป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดยุทธศาสตร์ย่อยและแผนงานในระดับหน่วยงาน รวมทั้งงบประมาณในการดำเนินงานอย่างเป็นเอกภาพ ซึ่งจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับบทบาทของไทยในการสนับสนุนปฏิบัติการเพื่อสันติภาพในกรอบสหประชาชาติและกรอบความร่วมมืออื่นๆ โดยได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในการจัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าว
4. กระบวนการในการตัดสินใจเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
4.1 เมื่อปี 2538 กระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานด้านการเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ โดยมีอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศเป็นประธานและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณ ร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่เสนอแนวนโยบายเกี่ยวกับการเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2553 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานฯ อย่างเป็นทางการ และเพิ่มองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ โดยให้มีผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงานประสานภารกิจทางทหารกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาเสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์การเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติอย่างบูรณาการ และพิจารณาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งกองกำลังเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพตามที่สหประชาชาติร้องขอ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องในมิติต่างๆ ทั้งด้านการต่างประเทศ ความมั่นคง และเศรษฐกิจ
4.2 หลักการพื้นฐานที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาเข้าร่วม คือ ผลกระทบต่อความมั่นคงของไทย ผลประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ ระดับความเสี่ยงของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เป็นที่เข้าใจกันว่าปฏิบัติการรักษาสันติภาพแต่ละครั้งมีความหลากหลายในรูปแบบและมีพัฒนาการที่รวดเร็ว จึงต้องมีการตัดสินใจที่ฉับไวและทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น การประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงจึงมีความสำคัญมาก
4.3 ในการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพแต่ละครั้ง หลังจากการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้เสนอเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติในหลักการ โดยรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของกองกำลังที่จะเข้าร่วมนั้น จะมีการหารืออย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ผลประโยชน์ของไทยจากการเข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพ
5.1 เป็นการตอบสนองนโยบายต่างประเทศของไทยในการสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติในการธำรงและรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
5.2 เป็นโอกาสในการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศที่ไทยเข้าร่วมภารกิจและสร้างความนิยมไทย โดยการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรไทยจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในระดับบุคคลกับเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนในพื้นที่ อันจะเอื้อประโยชน์ต่อการขยายความสัมพันธ์และความร่วมมือในมิติอื่นๆ ในระยะยาวหลังจากความขัดแย้งยุติลงแล้ว เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและโอกาสด้านการค้าการลงทุน
5.3 เป็นการช่วยธำรงสันติภาพและเสถียรภาพในประเทศและภูมิภาคนั้นๆ เพื่อช่วยสร้างสภาวะที่เอื้อต่อการพัฒนา รวมทั้งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและบรรยากาศที่ดีต่อความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนในระยะยาว
5.4 เป็นโอกาสในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยว่าเป็นสังคมแห่งเมตตาธรรม มนุษยธรรม และความเอื้ออาทรโดยการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่ตกทุกข์ได้ยาก
5.5 เป็นโอกาสในการแสดงศักยภาพของกองทัพไทย รวมทั้งเป็นการพัฒนาความรู้/ความเชี่ยวชาญและเสริมสร้างทักษะ/ประสบการณ์ในเวทีระหว่างประเทศของกำลังพล เป็นเกียรติประวัติ และเป็นการสร้างโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของไทยได้รับการพิจารณาให้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในฝ่ายปฏิบัติการสันติภาพของสหประชาชาติหรือในองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ
6. หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
6.1 ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ เป็นหน่วยขึ้นตรงกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดยยกระดับจากกองปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ เพื่อเป็นทั้งหน่วยอำนวยการและหน่วยปฏิบัติของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีความรับผิดชอบหลักในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานรองรับบทบาทของไทยด้านการรักษาสันติภาพร่วมกับสหประชาชาติและมิตรประเทศที่ไทยมีความร่วมมือ เช่น สหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายจะยกระดับเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านสันติภาพระดับภูมิภาค และสนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบอาเซียน
นอกจากนี้ กองบัญชาการกองทัพไทยได้เปิดสำนักงานที่ปรึกษาทางทหารประจำคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2545 เพื่อสนับสนุนบทบาทของไทยในด้านปฏิบัติการเพื่อสันติภาพของสหประชาชาติอย่างเป็นรูปธรรมด้วย
6.2 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการอำนวยการส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมปฏิบัติการเพื่อสันติภาพตามความต้องการของสหประชาชาติ ซึ่งในอนาคตมีแนวโน้มว่า ตำรวจจะมีบทบาทและความสำคัญมากขึ้น เพราะจะมีหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยภายหลังจากความขัดแย้งได้ยุติลงเพื่อฟื้นฟูความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ และสนับสนุนการปฏิรูปหน่วยงานด้านความมั่นคงก่อนที่จะถ่ายโอนความรับผิดชอบจากกองกำลังตำรวจสหประชาชาติให้แก่รัฐบาลของประเทศนั้น ๆ