วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

บทบาททางเศรษฐกิจของ อาเซียน สังคมโลก

บทบาททางเศรษฐกิจของ อาเซียน สังคมโลก

วัตถุประสงค์ของ ASEAN               
(1) เพื่อเร่งรัดความเจริญทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และการพัฒนาทางวัฒนธรรม
(2) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
(3) เพื่อส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังในด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบิหาร เป็นต้น

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน
อาเซียนเริ่มดำเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังในปี ค.ศ.1977 (พ.ศ.2520) โดยเริ่มด้วยโครงการลดภาษีนำเข้าระหว่างกันโดยสมัครใจ (ASEAN PTA) และมีโครงการอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโครงการ เช่น
2.2.1 โครงการาเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
2.2.2 โครงการเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA)
2.2.3 โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO)
2.2.4 กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e – ASEAN Framework Agreement)
2.2.5 การอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนของอาเซียน (Facilitation of Goods in Transit)
2.2.6 การเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน
2.2.7 โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภาพกลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (6 เหลี่ยมเศรษฐกิจ)
2.2.8 โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย
2.2.9 โครงการส่งเสริมตลาดการค้า การลงทุนสินค้าอุตสาหกรรมอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ซึ่งโครงการเหล่านี้เน้นเรื่องการลดภาษีนำเข้า ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง ทำให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกลง รวมทั้งให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรมอย่างเสรีในอาเซียนตามกรอบเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งจะเป็นการดึงดูดการลงทุนและขยายการค้าระหว่างกันในอาเซียนเพิ่มขึ้น
โครงการเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
ASEAN PTA ที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 นั้น ปรากฎว่ารายการสินค้าที่ประเทศสมาชิกให้สิทธิพิเศษ ฯ มักไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศสมาชิก เป็นเหตุให้การค้าไม่ขยายตัวเท่าที่ควร ดังนั้น ในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27 – 28 มกราคม 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีไทย (นายอานันท์ ปันยารชุน) ที่ประชุมอาเซียนได้ตกลงที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ขึ้น และได้ร่วมลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษเท่ากัน สำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area : AFTA)
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้มีการขยายการค้าภายในอาเซียน
2) จูงใจการลงทุนจากต่างประเทศมาสู่ภูมิภาค
3) เสริมให้มีการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อประสิทธิภาพการผลิดของประเทศสมาชิก
4) เพิ่มอำนาจต่อรองของอาเซียนในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ
เป้าหมาย
ประเทศสมาชิกจะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลืออัตราร้อยละ 0 – 5 สำหรับสินค้าเกษตรแปรรูปและสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภท ภายในเวลา 10 ปี และยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณของสินค้าหนึ่ง ๆ ทันทีที่สินค้านั้นมีอัตรภาษีร้อยละ 20 หรือ ต่ำกว่า แล้วยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายใน 5 ปี
(1) เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ.2536 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าของอาเซียนในตลาดโลก โดยมีหลักการสำคัญ คือ ลดภาษี และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ และได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงเหลือ 0 – 5 % สำหรับสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภทภายใน 10 ปี (ปี พ.ศ.2536 – พ.ศ.2546) ยกเว้นสินค้าเกษตร, ไม้แปรรูปที่อ่อนไหว (Sensitive Products) ซึ่งจะเริ่มนำเข้ามาลดภาษีในปี พ.ศ.2544 – พ.ศ.2546 (ค.ศ.2001 – ค.ศ.2003) และลดภาษีให้เหลือ 0 – 5 % ในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ส่วนสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive Products) ซึ่งมีอยู่รายการเดียวคือ ข้าว จะเริ่มต้นลดภาษีช้ากว่า มีอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่า 5 % และมีมาตรการคุ้มกันพิเศษ ทั้งนี้กำหนดการดังกล่าวเป็นของสมาชิกเดิม ส่วนสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ จะมีกำหนดเวลาที่ช้ากว่าสมาชิกเดิม เนื่องจากเข้าร่วม AFTA ช้ากว่า
(2) ภายหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อเร่งรัดการลงทุนในระยะสั้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจ อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน โดยให้สมาชิกเดิมลดภาษีเป็น 0 – 5 % เร็วขึ้น 1 ปี จากปีพ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) เป็นปี พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) ส่วนสมาชิกใหม่ให้พยายามลดภาษีเหลือ 0 – 5 % ให้มากที่สุดภายในปี พ.ศ.2546(ค.ศ.2003) สำหรับเวียดนาม และปี พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) สำหรับลาวและพม่า ตามลำดับ และอาเซียนยังได้ตกลงให้ AFTA เป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยให้ลดภาษีเหลือ 0 % ทุกรายการภายในปีพ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และ ปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) สำหรับสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ยกเว้นสินค้าบางรายการของสมาชิกใหม่ที่ให้ยืดหยุ่นได้ จนถึงปี พ.ศ.2561 (ค.ศ.2018)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น