วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

ปัญหาของอาเซียน

จากการที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมกขึ้น มีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคพันธุ์ใหม่ ทำให้ประเทศต่างๆ ต้องมีข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศตนเองมากขึ้น เช่น ประเทศไทยมีการวางแผนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555) ที่กำหนดแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่วิเคราะห์ทุกอย่างอย่างมีเหตุผลใช้หลักความพอประมาณและระบบคุ้มกัน ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามาเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ
 
ภัยธรรมชาติและการระวังภัย
  1. อุทกภัยหรือภัยจากน้ำท่วม เป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดฝนตกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน น้ำท่วมอาจมีสาเหตุมาจากพายุหมุนเขตร้อน มรสุมกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำกำลังแรง หรือแผ่นดินไหวทำให้เขื่อนแตก โดยทั่วไปน้ำท่วมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
    • อุทกภัยที่เกิดจากน้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินซึมซับน้ำไม่ทัน น้ำฝนไหลบ่าเหนือผิวดินลงสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิตและทรัพย์สิน
    • อุทกภัยที่เกิดจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง ลำธารล้นตลิ่งมีระดับสูงเกินกว่าปกติ ท่วมนานและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภคและพื้นที่การเกษตร
การระวังภัย เพื่อป้องกันภัยจากน้ำท่วม ควรปฏิบัติดังนี้
  1. ติดตามรับฟังการประกาศข่าวพยากรณ์อากาศของทางการอย่างสม่ำเสมอ เมื่อได้รับคำเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูงในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง
  2. ถ้าอยู่ในที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลากจากภูเขา กระแสน้ำจะไหลบ่าอย่างรวดเร็วควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนัก
  3. ถ้าอยู่ริมน้ำควรนำเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่ที่จะใช้งานได้สะดวก หรือเพื่อใช้ในการคมนาคมเมื่อมีน้ำท่วม
  4. ควรระวังกระแสน้ำหลาก ซึ่งจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่
  5. เตรียมกระสอบใส่ดินหรือทรายไว้ เพื่อเสริมคันดินกั้นน้ำให้สูงขึ้น
  6. อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม
  7. อย่าลงเล่นน้ำ อาจพบอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้
  8. หลังจากน้ำท่วมจะมีน้ำขัง อาจเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์น้ำบริโภคควรเป็นน้ำสะอาดหรือต้มสุก
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน เป็นภัยธรรมชาติที่มักจะส่งผลให้ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก บ้านเรือน พื้นที่เกษตรกรรมเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เช่น การเกิดพายุไซโคลนนาร์กีส (Nargis) ในอ่าวเบงกอล เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2551 และเคลื่อนตัวเข้าสู่พม่า ก่อให้เกิดภัยพิบัติครั้งร้ายแรงในพม่า เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั้งยังเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันเป็นบริเวณกว้างในประเทศบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา เนื่องจากพายุไซโคลนนาร์กีสมีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง องค์การสหประชาชาติคาดว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ประมาฯ 146,000 คน โดยเสียชีวิต 90,000 คน และสูญหายอีกประมาณ 56,000 คน พายุไซโคลนนาร์กีสจัดเป็นภัยพิบัติจากพายุไซโคลนอันดับ 2 รองจากพายุไซโคลนโพลา (Bhola) ที่บังกลาเทศใน พ.ศ. 2513 ซึ่งมีประชากรเสียชีวิตประมาณ 5000,000 คน
พายุหมุนเขตร้อนเป็นพายุที่เกิดในเขตอากาศร้อนของโลก ถ้าเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ถ้าเกิดในมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน
พายุหมุนเขตร้อนเป็นผลกระบวนการพาความร้อน โดยแหล่งกำเนิดจะเกิดขึ้นในมหาสมุทรหรือทะเล เมื่อบริเวณดังกล่าวได้รับความร้อน จะทำให้ผิวน้ำร้อนขึ้นและขยายตัวลอยขึ้นสู่เบื้องบน ส่งผลให้ความกดอากาศบริเวณนั้นต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้อากาศที่เย็นกว่าเคลื่อนเข้มาแทนที่ เป็นผลให้อากาศในบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าลอยตัวเข้าสู่ศูนย์กลางความกดอากาต่ำ มีความแรงและเร็วขึ้น ในขณะนั้นท้องฟ้าจะมีเมฆมาก ทำให้ท้องฟ้าปิด เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เมือพายุนี้เคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณใดก็จะนำความเสียหายไปยังบริเวณนั้น ความรุนแรงแตกต่างกันตามความเร็วของพายุ ดังนี้
  • พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางต่ำกว่า 33 นอต (น้อยกว่า 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุโซนร้อน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 34-63 นอต ขึ้นไป (ระหว่าง 62-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
  • พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 63 นอตขึ้นไป (มากกว่า 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นซึ่งจัดเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุดนั้น จะมีความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนไร่นาเสียหาย ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต่ฝุ่นเป็นประจำทุกปี คือ ฟิลิปปินส์ เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนจีน (เกาะไหหลำ) ส่วนในประเทศ พม่า บังกลาเทศ ศรีลังกาและอินเดีย จะได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลน ผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับเป็นเพราะพายุหมุนเขตร้อนจะอ่อนกำลังลง เมื่อพัดผ่านเวียดนามและลาว ทำให้เกิดฝนตกเป็นบริเวณกว้าง สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงได้ดี จากสถิติในรอบ 47 ปี ประเทศไทยมีพายุไต้ฝุ่น 11 ครั้ง และมีเพียง 2 ครั้ง ที่มีความรุนแรงมาก คือ พายุไต้ฝุ่นเกย์และพายุไต้ฝุ่นกิสนา
พายุไต้ฝุ่นเกย์ เป็นพายุไต้ฝุ่นที่พัดผ่านประเทศไทยอย่างรุนแรงที่สุดและพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ตอนบนด้วยความเร็วลม 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อเวลา 08.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ขึ้นฝั่งที่อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ อำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพานใหญ่ นานถึงหนึ่งชั่วโมง ก่อนเคลื่อนตัวลงมาที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ทำให้เกิดลมพายุ ลมฝนและเศษฝน พัดกระหน่ำเข้าสู่พื้นที่ฝั่งตะวันออกของประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพรอย่างรุนแรงนานถึง 4 ชั่วโมง ความเร็วลมบวกกับความแรงของพายุทำให้เกิดคลื่นสูงในทะเลประมาณ 5-10 เมตร เมื่อพัดเข้าสู่ฝั่งสูงประมาณ 1-5 เมตร มีน้ำทะลักเข้าท่วมตัวเมืองบางส่วนจนบ้านเรือนหว่า 100 หลังพังยับเยิน ถนนและสะพานหลายสิบแห่งใช้การไม่ได้ หลังจากพายุสงบลง อำเภอปะทิว และอำเภอท่าชนะกลายเป็นจุดวิกฤตที่สุด ที่ว่าการอำเภอ บ้านเรือน โรงพยาบาล เรือกสวนไร่นาเสียหายเกือบทั้งหมด นับเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ของภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 500 คน บ้าเรือนได้รับความเสียหาย 38,000 หลัง พายุไต้ฝุ่นเกย์นับเป็นภัยธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย
พายุไต้ฝุ่นกิสนา เป็นพายุที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพายุหมุนเกิดขึ้นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก พายุไต้ฝุ่นกิสนาก่อตัวขึ้นทางตะวนออกของประเทศฟิลิปปินส์จากนั้นได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 โดยขณะขึ้นฝั่งได้ทำให้เกิดลมแรงและฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ในแถบภาคเหนือของฟิลิปปินส์พายุลูกนี้ได้พัดอยู่ถึง 9 ชั่วโมง มีฝนตกลงมาอย่างรุนแรง ทำให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่ม ในแถบภาคเหนือของฟิลิปปินส์ รวมถึงกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศ ที่ถูกน้ำท่วมสูงถึง 6 เมตร นับตั้งแต่พายุขึ้นฝั่งมีน้ำท่วมเป็นเวลาหลายวัน นับเป็นน้ำท่วมหนักในรอบ 40 ปีของฟิลิปปินส์ แล้วจึงเคลื่อนตัวลงทะเลจีนใต้ เพิ่มกำลังเป็นพายุไต่ฝุ่น ซึ่งมีความเร็วถึง 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พัดเข้าสู่ฝั่งเวียดนาม ผ่านประเทศลาวเข้าสู่ประเทศไทย กลายเป็นพายุโซนร้อนที่ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในวันที่ 29-30 กันยายน พ.ศ. 2552 ส่วนภาคอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่บริเวณพื้นที่ลุ่มของจังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และ นครราชสีมา
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองและบรรเทาสาธารณภัย ได้เตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจเคลื่อนตัวผ่านประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ดังนี้
ก่อนเกิดเหตุการณ์ หมั่นติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสอบสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง หากพบต้นไม้ ป้ายโฆษณาและเสาไฟฟ้าอยู่ในสภาพเสี่ยงต่อการหกโค่นให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขโดยด่วน พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ตลอดจนควรย้ายปลั๊กไฟให้สูงกว่าระดับน้ำท่วม และเข้าร่วมการฝึกอพยพหนีภัยที่หน่วยงานต่างๆ จัดขึ้นและปฏิบัติตน ดังนี้
  1. ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา หรือประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานภาครัฐอย่างสม่ำเสมอใกล้ชิด
  2. ตรวจสอบสภาพบ้านเรือนให้มั่นคงแข็งแรง
  3. จัดเตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคไว้ในยามฉุกเฉิน
  4. ขณะที่เกิดพยุห้ามออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพราะอาจได้รับอันตรายจากสิ่งของที่ปลิวมาตามลม
ขณะเกิดเหตุการณ์ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งที่ลาดเชิงเขา ที่ราบลุ่มแม่น้ำและใกล้ทางน้ำไหล ควรหลบในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ปิดประตู หน้าต่างอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันแรงลมพัดสิ่งของภายในบ้านเสียหาย ไม่ออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง เพราะอาจได้รับอันตรายจากกิ่งไม้ ใบไม้ สังกะสี และกระเบื้องที่ปลิวมาตามลมได้ พร้อมทั้งหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ หากน้ำเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดินบนภูเขา ระดับน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเสียงดังมาจากป่าตันน้ำ สัตว์ป่าแตกตื่นให้รีบอพยพขึ้นไปอยู่ในที่สูงตามเส้นทางที่กำหนด
ส่วนผู้ที่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเล ผู้ประกอบการและชาวประมง ควรอพยพไปอยู่ในพื้นที่ห่างจากชายฝั่ง ไม่นำเรือออกจากฝั่ง เพราะช่วงที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจะมีฝนตกหนัก คลื่นลมในทะเลมีกำลังแรง อาจทำให้เรือล่มกลางทะเลได้ หลังเกิดไม่ควรรีบออกไปในที่โล่งแจ้ง ควรรอจนกว่าพายุสงบภายในบ้านอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง หากพบเห็นสายไฟขาด เสาไฟฟ้าล้ม ไม่ควรเข้าใกล้บริเวณดังกล่าวหรือนำไม้ไปเขี่ยอย่างเด็ดขาด เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าช็อตจนเสียชีวิตได้
สึนามิ เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สืบเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ประเทศไทยไม่เคยมีปรากฏการณ์เกิดคลื่นสึนามิที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมาก่อน คนไทยรู้จักและพบกับความเสียหายอย่างรุนแรงจากคลื่นสึนามิเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 ริคเตอร์ ซึ่งเป็นการไหวตัวอย่างรุนแรงต่อเนื่องไปตลอดแนวแผ่นเปลือกโลกอินเดียและยูเรเชีย จนผิวโลกใต้มหาสมุทรปริร้าวแยกและไหวยกตัวขึ้นลงทั้งพื้นทะเล เป็นแนวยาวกว่า 1,200 กิโลเมตร ที่นอกชายฝั่งตะวันตกทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีจุดศูนย์กลางอยู่ลึก 10 กิโลเมตร ห่างจากเมืองบันดาอาเจะห์ประมาณ 250 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 1,260 กิโลเมตร แผ่นดินไหวนี้เป็นแผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดนับจากการเกิดแผ่นดินไหวที่อะแลสกา ใน พ.ศ. 2507 ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในทวีปเอเชีย

 
เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวแบบยกตัวขึ้นลงอย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้เกิดการยกตัวของมวลน้ำเป็นบริเวณกว้างสูงขึ้นเกือบทั้งทะเล แล้วถูกแรงดึงดุดของโลกดูดให้ไหลไปสู่จุดสมดุลใหม่ น้ำในมหาสมุทรจึงเกิดการกระเพื่อมส่งเป็นคลื่นออกไปทุกทิศทาง ด้วยความเร็วสูงถึง 960 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อถึงฝั่งก็จะรวมและแยกตัวโถมเข้าชายฝั่งอย่างเร็วและรุนแรง ทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์และสัตว์เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ผู้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะที่เมืองบันดาอาเจะห์บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ในประเทศไทย ศรีลังกา อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย พม่า หมู่เกาะนิดโคบาร์ หมู่เกาะมัลดีฟส์ รวมถึงประเทศโซมาเลีย เคนยา แทนซาเนียและหมู่เกาะเซเซลส์ในทวีปแอฟริกา
 
การระวังภัย
  1. เมื่อได้ยินการเตือนภัยว่าจะเกิดสึนามิหรือคลื่นสูงเคลื่อนเข้ามาหรือเห็นน้ำทะเลลดลงกะทันหัน ควรหนีไปยังที่เป็นเนินสูง และไม่กลับไปที่ชายฝั่งอีก เพราะสึนามิสามารถเกิดขึ้นซ้ำได้
  2. สึนามิส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจเกิดไกลหรือไกลออกไป แต่แผ่นดินไหวทุกครั้งไม่ได้ก่อให้เกิดสึนามิเสมอไป เมื่อได้ยินประกาศเตือนแผ่นดินไหว ให้เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น หากอยู่ในบริเวณเสี่ยง เช่น บริเวณชายฝั่งหรือเกาะ
  3. สึนามิอาจเกิดเป็นสิบเมตร และซัดเข้าชายฝั่งเป็นระยะทางยาวมาก ที่ต่ำ เช่น ชายฝั่งทะเลและชายหาดมีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยต่อมนุษย์
  4. เมื่ออยู่ใกล้ชายฝั่งแล้วรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน หรือเห็นระดับน้ำเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ไปยังเนินสูงและอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำหรือที่ต่ำ
  5. แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว (Earthquakes) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนตัวโดยฉับพลันของเปลือกโลก ส่วนใหญ่แผ่นดินไหวมักเกิดตรงบริเวณขอบของเปลือกโลก การเคลื่อนตัวดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากชั้นหินหลอมละลายที่อยู่ภายใต้เปลือกโลก ได้รับพลังงานความร้อนจากแกนโลกและลอยตัวผลักดันเปลือกโลกตอนบนอยู่ลอดเวลา ทำให้เปลือกโลกแต่ละแผ่นมีการเคลื่อนที่มรทิศทางต่างกัน พร้อมกัลป์เก็บสะสมพลังงานไว้ภายใน ดังนั้นบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกจึงเป็นส่วนที่ชนกันเสียดสีกันหรือแยกจากกัน หากบริเวณของขอบเปลือกโลกใด ๆ ไม่ผ่านหรืออยู่ใกล้กับประเทศใดประเทศหนึ่ง ประเทศนั้นก็จะมีความเสี่ยงภัยต่อแผ่นดินไหวสูง เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศนิวซีแลนด์ เป็นต้น นอกจากนั้นอาจเกิดพลังงานที่สะสมในเปลือกโลกจะส่งผ่านไปยังเปลือกโลกของทวีปตรงบริเวณรอยร้าวของหินใต้พื้นโลกที่เรียกว่า รอยเลื่อน ทำให้รอยเลื่อนที่ประกบกันอยู่ได้รับแรงอัดมาก รอยเลื่อนจึงเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน เกิดเป็นแผ่นดินไหวได้เช่นเดียวกัน

 
แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว จะส่งผลกระทบไปได้ไกล ไม่เฉพาะประเทศที่เกิดเท่านั้น บางครั้งหากมีความรุนแรงมาก คลื่นแผ่นดินไหวจะส่งผ่านไปได้บนผิวโลกหลายพันกิโลเมตรกินอาณาเขตหลายประเทศ
ในอดีตเคยมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ร้ายแรงที่สุดในรอบทศวรรษ เกิดขึ้นที่เมืองถังชาน มณฑลเหอเป่ย ประเทศจีน ในตอนดึกของวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 250,000 คน บาดเจ็บร่วม 800,000 คน ความเสียหายร้ายแรงนี้ ทำให้ประเทศจีน ต้องใช้เวลานานกว่า 10 ปี จึงสามารถฟื้นฟูเมืองถังชานให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อีกครั้งหนึ่ง
ความร้ายแรงของแผ่นดินไหวอาจจะไม่จบลงเพียงการสั่นสะเทือนแค่ครั้งเดียวเท่านั้น เพราะการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่แต่ละครั้ง มักมีแผ่นดินไหวขนาดเล็กตามมาอีกหลายระลอก ซึ่งเรียกว่า แผ่นดินไหวระลอกหลัง (after shock) ซึ่งอาจเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานที่ยังคงค้างอยู่ในมวลหินและยังเกิดในบริเวณรอยเลื่อนเดียวกันที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกอีกด้วย
ปัจจุบันภัยจากแผ่นดินไหวยังคงเป็นธรรมชาติที่ไม่สาสารถพยากรณ์ได้อย่างแม่นยำว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน มีขนาดและความรุนแรงเท่าใด แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีความพยายามที่จะศึกษาวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ของบริเวณแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว เพื่อให้การพยากรณ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจะได้ลดน้อยลง
ความรุนแรงอันเนื่องมาจากแผ่นดินไหว สามารถกำหนดได้จากมาตราวัดความรุนแรง แผ่นดินไหวที่นิยมใช้กันมาก คือ มาตราริกเตอร์ ที่ซี.เอฟ.ริกเตอร์ (C.F.Richter) นักธรณีวิทยาแผ่นดินไหวแห่งสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดค้นและเผยแพร่ใน พ.ศ. 2478 โดยใช้ผลจากการบันทึกของเครื่องวัดความไหวสะเทือนและมีการปรับแก้ระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวโดยค่าแสดงขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดแต่ละครั้ง คำนวณได้จากเครื่องตรวจแผ่นดินไหว ที่มีค่าตั้งแต่ 0-9.0 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2549 : 459) ดังตารางที่ 2 นอกจากนี้ยังบอกได้ในรูปของความรุนแรงและขนาดของแผ่นดินไหวที่มีต่อความรู้สึกของคน ความแข็งแรงมั่นคงของอาคาร สถานที่และสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งตำแหน่งของผู้สังเกตว่าอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากน้อยเพียงใด
ทวีปเอเชีย มีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมากที่สุด คือ การเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองบันดาอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ. 2547 โดยมีขนาด 9.0 ริกเตอร์ ซึ่งเป็นการเกิดแผ่ดินไหวใต้พื้นน้ำและก่อให้เกิดคลื่นสึนามิตามมาเป็นบริเวณกว้างรอบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้ประชากรในหลายประเทศเสียชีวิตมากกว่า 200,000 คน ประเทศไทยก็ได้รับความเสียหายจากสึนามิครั้งนี้เป็นบริเวณกว้างด้วยเช่นกันโดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา
พ.ศ. 2550 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มณฑลซื่อชวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ขนาด 7.9 ริคเตอร์ ทำให้บ้านเรือนเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ประชาชนเสียชีวิตจำนวนมาก นอกจากประเทศที่อยู่ในแนววงแหวนไฟแล้ว ในทวีปเอเชียยังมีพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวรอยต่อระหว่างทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย เช่น ประเทศอิหร่านและประเทศอัฟกานิสถาน มักจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน
 
การระวังเตือนภัย
 
เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เราควรเตรียมความพร้อมและศึกษาวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และไม่ควรวางสิ่งของหนักบนชั้นหรือหิ้งสูง ๆ เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหว สิ่งของเหล่านี้อาจตกลงมาเป็นอันตรายแก้คนในครอบครัวได้ เครื่องใช้ที่หนัก ๆ ควรให้ผูกไว้ให้แน่นกับพื้นบ้าน เตรียมไฟฉายสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน รวมทั้งควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และหากอยู่ในอาคารหรือบ้านเรือนขณะเกดแผ่นดินไหวให้ยืนอยู่ในส่วนที่มีโครงสร้างแข็งแรง อยู่ให้ห่างจากระเบียงและหน้าต่าง หรือมุดเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะ ถ้ากำลังอยู่ในอาคารสูงให้รีบหาทางออกจากอาคารโดยเร็ว ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดหรือหากกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถจนกระทั่งการสั่นสะเทือนหยุด และหากอยู่บริเวณชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นสึนามิวัดเข้าหาฝั่งได้ รวมทั้งต้องตั้งสติไว้ให้ดี อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ อย่างวิ่งไปวิ่งมาหรือวิ่งเข้าวิ่งออก จะทำให้เกิดความสับสนอาจเป็นอันตรายมากขึ้น
 
เหตุวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 หรือ 9/11


เป็นชุดการโจมตีพลีชีพที่ประสานกันสี่ครั้งต่อสหรัฐอเมริกา ในนครนิวยอร์กและพื้นที่วอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เช้าวันนั้น ผู้ก่อการร้าย 19 คนจากกลุ่มอิสลามหัวรุนแรงอัลกออิดะฮ์ จี้อากาศยานโดยสารสี่ลำ โจรจี้เครื่องบินนั้นนำเครื่องบินทั้งสองพุ่งชนกับตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กโดยเจตนา และอาคารทั้งสองถล่มลงภายในสองชั่วโมง โจรจี้เครื่องบินชนเครื่องบินลำที่สามกับอาคารเพนตากอนในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ส่วนเครื่องบินลำที่สี่ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนจะถึงเป้าหมายที่โจรจี้เครื่องบินต้องการพุ่งชนอาคารรัฐสภาสหรัฐ ในวอชิงตัน ดี.ซี. หลังผู้โดยสารพยายามยึดเครื่องกลับคืน มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คนในเหตุโจมตีดังกล่าวและไม่มีผู้รอดชีวิตจากเครื่องบินทั้งสี่ลำมีการพุ่งเป้าสงสัยไปที่กลุ่มผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์อย่างรวดเร็ว อุซามะฮ์ บิน ลาดิน ผู้นำกลุ่ม ซึ่งได้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องในตอนแรก สุดท้ายได้อ้างความรับผิดชอบเหตุวินาศกรรมดังกล่าวใน พ.ศ. 2547 อัลกออิดดะห์และบิน ลาดิน อ้างเหตุผลจูงใจในการก่อเหตุ ว่า การสนับสนุนอิสราเอลของสหรัฐอเมริกา การคงทหารสหรัฐประจำการไว้ในซาอุดิอาระเบีย และการลงโทษต่ออิรัก สหรัฐอเมริกาดำเนินมาตรการตอบโต้เหตุวินาศกรรมโดยการเริ่มสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (War on Terror), การรุกรานอัฟกานิสถานเพื่อขับรัฐบาลตอลิบัน ซึ่งให้ที่พักพิงแก่สมาชิกอัลกออิดะฮ์ หลายประเทศเพิ่มกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายและขยายอำนาจการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้น ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 หลังลอยนวลมาได้นานหลายปี บิน ลาเดนถูกพบและถูกสังหาร เหตุวินาศกรรมทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงต่อเศรษฐกิจของแมนฮัตตันล่าง การทำความสะอาดเขตเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์แล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์ 11 กันยายนแห่งชาติมีกำหนดเปิดในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ติดกับอนุสรณ์ วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งมีความสูง 541 เมตร ประเมินไว้ว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2556 เพนตากอนซ่อมแซมภายในเวลาหนึ่งปี และมีการเปิดอนุสรณ์เพนตากอน ติดกับตัวอาคาร ใน พ.ศ. 2551 มีการจัดตั้งอนุสรณ์แห่งชาติเที่ยวบินที่ 93 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2552 และอนุสรณ์ดังกล่าวก่อสร้างเสร็จอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554


ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคารใต้
 
คลิปกล้องรักษาความปลอดภัย เป็นภาพเที่ยวบินที่ 77 พุ่งชนอาคารเพนตากอน เครื่องบินลำดังกล่าวพุ่งชนเพนตากอนประมาณ 86 วินาทีหลังบันทึกนี้เริ่มต้น

เช้าวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 โจรจี้เครื่องบิน 19 คนยึดเครื่องบินพาณิชย์สี่เครื่องระหว่างทางไปซานฟรานซิสโกและลอสแอนเจลิสหลังนำเครื่องขึ้นจากบอสตัน เนวาร์ค และวอชิงตัน ดี.ซี.โจรเจตนาเลือกจี้เครื่องบินที่ต้องบินเป็นระยะทางไกลเพราะมีน้ำมันอยู่มาก เมื่อเวลา 8.46 น. โจรจี้เครื่องบินห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 พุ่งเข้าชนกับตึกเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ (1 WTC) และเมื่อเวลา 9.03 น. โจรอีกห้าคนได้นำเที่ยวบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งเข้าชนตึกใต้ (2 WTC)
คนร้ายห้าคนนำเที่ยวบินอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 พุ่งเข้าชนอาคารเพนตากอนเมื่อเวลา 9.37 น.[16] ส่วนเที่ยวบินที่สี่ ภายใต้การควบคุมของคนร้ายสี่คน ชนยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ใกล้กับแชงค์วิลล์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อเวลา 10.03 น. หลังผู้โดยสารสู้กับคนร้าย เป้าหมายแท้จริงของเที่ยวบิน 93 นั้นเชื่อกันว่าน่าจะเป็นอาคารรัฐสภาหรือไม่ก็ทำเนียบขาว เครื่องบันทึกเสียงห้องนักบินของเที่ยวบินที่ 93 เปิดเผยว่า ลูกเรือและผู้โดยสารพยายามยึดการควบคุมเครื่องคืนจากคนร้าย หลังทราบผ่านโทรศัพท์ว่ามีเครื่องบินที่ถูกจี้คล้ายกันพุ่งเข้าชนอาคารเช้าวันนั้น เมื่อชัดเจนแก่คนร้ายแล้วว่าผู้โดยสารอาจยึดเครื่องคืน คนร้ายคนหนึ่งจึงออกคำสั่งที่เหลือให้หมุนเครื่องบินและตั้งใจให้เครื่องตกไม่นานหลังจากนั้น เที่ยวบินที่ 93 ตกในทุ่งใกล้กับแชงค์วิลล์

ผู้โดยสารบางคนสามารถโทรศัพท์ได้โดยใช้บริการแอร์โฟนเคบิน และโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้รายละเอียดว่ามีคนร้ายจี้เครื่องบินหลายคนบนเครื่องบินแต่ละเครื่อง มีการใช้สเปรย์พริก (mace) แก๊สน้ำตา หรือสเปรย์พริกไทย และบางคนบนเครื่องถูกแทง รายงานชี้ว่าโจรจี้เครื่องบินแทงและฆ่านักบิน พนักงานต้อนรับบนเครื่อง และผู้โดยสารหนึ่งคนหรือมากกว่า ในรายงานสุดท้าย คณะกรรมการ 9/11 พบว่า โจรจี้เครื่องบินได้ซื้อเครื่องมืออเนกประสงค์และเลือกมีดและใบมีด พนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินที่ 11 ผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 175 และผู้โดยสารบนเที่ยวบินที่ 93 กล่าวว่าคนร้ายจี้เครื่องบินมีระเบิด แต่มีผู้โดยสารอีกคนหนึ่งกล่าวเช่นกันว่า เขาคิดว่าระเบิดเป็นของปลอม เอฟบีไอไม่พบร่องรอยวัตถุระเบิดที่จุดตก และคณะกรรมการ 9/11 สรุปว่าระเบิดอาจเป็นของปลอม

เมื่อเป็นที่ทราบแล้วว่าเที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง เครื่องบิน เอฟ-15 สองลำเร่งรีบออกจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติสในรัฐแมสซาชูเซตส์ และขนมาทางอากาศก่อนเวลา 8.53 น. หน่วยบัญชาการป้องกันอวกาศอเมริกาเหนือ (NORAD) มีประกาศ 9 นาทีว่า เที่ยวบินที่ 11 ถูกจี้เครื่อง แต่เพราะการสื่อสารที่เลวกับสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) จึงไม่รับทราบเกี่ยวกับเที่ยวบินอื่นก่อนที่จะชนกับอาคาร หลังอาคารคู่ถูกชนทั้งสองหลังแล้ว เครื่องบินขับไล่เร่งรีบออกมากมากขึ้นจากฐานทัพอากาศแลงเลย์ในรัฐเวอร์จิเนีย เมื่อเวลา 9.30 น. ต่อมาเวลา 10.20 น. มีคำสั่งให้ยิงอากาศยานพาณิชย์ลำใดก็ตามที่สามารถชี้ว่าถูกจี้เครื่อง คำชี้แจงเหล่านี้ไม่ได้ถ่ายทอดมาทันเวลาที่เครื่องบินขับไล่จะปฏิบัติการ เครื่องบินขับไล่บางลำนำเครื่องขึ้นสู่อากาศโดยไม่มีกระสุนจริง และทราบว่าการขัดขวางคนร้ายมิให้นำเครื่องบินชนเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ นักบินจะต้องใช้วิธีการชนเครื่องบินขับไล่ลำที่ตนขับมานั้นเข้ากับเครื่องบินที่ถูกจี้ และดีดตัวออกจากเครื่องในช่วงสุดท้าย ในการสัมภาษณ์นักบินเครื่องบินขับไล่ที่ตอบสนองจากฐานป้องกันแห่งชาติทางอากาศโอติส นักบินคนหนึ่งกล่าวว่า "จะไม่มีใครเรียกเราว่าวีรบุรุษ หากเรายิงเครื่องบินทั้งสี่ลำในวันที่ 11 กันยายน"
อาคารสามหลังในกลุ่มอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลงมาเพราะความเสียหายทางโครงสร้าง ตึกใต้ถล่มลงเมื่อเวลา 9.59 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 56 นาที ซึ่งเกิดจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 พุ่งชนอาคาร ตึกเหนือถล่มลงมาเมื่อเวลา 10.28 น. หลังเพลิงลุกไหม้นานกว่า 102 นาที เมื่อตึกเหนือถล่ม เศษซากปรักหักพักตกลงมาโดนอาคาร 7 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้อาคารเสียหายและเกิดเพลิงไหม้ ไฟเหล่านี้ลุกไหม้นานหลายชั่วโมง เป็นอันตรายต่อความสมบูรณ์ของโครงสร้างอาคาร กระทั่ง 7WTC ถล่มลงมาเมื่อเวลา 17.21 น.

อากาศยานทุกลำภายในสหรัฐอเมริกาแผ่นดินใหญ่ถูกสั่งห้ามขึ้นบิน และอากาศยานที่กำลังบินอยู่ถูกบังคับให้ลงจอดทันที อากาศยานพลเรือนระหว่างประเทศทุกลำหันหลังกลับหรือเปลี่ยนเส้นทางไปยังท่าอากาศยานในแคนาดาหรือเม็กซิโก และเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกห้ามลงจอดบนแผ่นดินสหรัฐเป็นเวลาสามวัน เหตุโจมตีสร้างความสับสนอย่างกว้างขวางในหมู่สำนักข่าวและผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ ในบรรเรายงานข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันและมักขัดแย้งกันที่ออกอากาศทั้งวันนั้น หนึ่งในข่าวที่แพร่หลายที่สุดว่า มีคาร์บอมบ์ถูกจุดระเบิดที่สำนักงานใหญ่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี เครื่องบินอีกลำหนึ่ง เดลตาแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 1989 ต้องสงสัยว่าถูกจี้เครื่อง แต่กลับกลายเป็นว่าไม่จริง หลังเครื่องตอบรับผู้ควบคุมและลงจอดอย่างปลอดภัยในคลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ

ในการสัมภาษณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545 คาลิด ซีกห์ โมฮัมเหม็ด (Khalid Sheikh Mohammed) และรอมซี บิน อัล-ชิบฮ์ (Ramzi bin al-Shibh) ผู้ซึ่งถูกเชื่อว่าเป็นผู้จัดการโจมตี กล่าวว่า เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ของเที่ยวบินที่ 93 คือ อาคารรัฐสภาสหรัฐ มิใช่ทำเนียบขาวระหว่างขั้นวางแผนการโจมตี ฮาเหม็ด อัตตา (Mohamed Atta) โจรจี้เครื่องบินและนักบินเที่ยวบินท่ 11 คิดว่าทำเนียบขาวอาจเป็นเป้าหมายที่ยากเกินไป และสอบถามการประเมินจาก Hani Hanjour ผู้ซึ่งภายหลังจี้เครื่องบินและเป็นนักบินของเที่ยวบินที่ 77โมฮัมเหม็ดยังว่า เดิมอัลกออิดะฮ์วางแผนจะพุ่งเป้าไปยังโรงงานนิวเคลียร์แทนเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และเพนตากอน แต่ตัดสินใจคัดค้าน ด้วยเกรงว่าทุกสิ่งอาจ "อยู่นอกเหนือการควบคุม ตามข้อมูลของโมฮัมเหม็ด การตัดสินใจเลือกเป้าหมายครั้งสุดท้ายอยู่ในมือของนักบิน

ผู้เสียชีวิต

มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 2,996 คนจากเหตุวินาศกรรมครั้งนี้ ประกอบด้วยโจรจี้เครื่องบิน 19 คน และเหยื่อ 2,977 คน เหยื่อนี้แบ่งเป็น 246 คนบนเครื่องบินทั้งสี่เครื่อง (ซึ่งไม่มีผู้รอดชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว), 2,606 คนในนครนิวยอร์ก ซึ่งมีทั้งที่อยู่ในอาคารระฟ้าทั้งสองและบนพื้นดิน และ 125 คนที่อาคารเพนตากอน เหยื่อเกือบทั้งหมดเป็นพลเรือน แต่มีทหาร 55 นายเสียชีวิตที่เพนตากอน
คนงานและผู้เยี่ยมชมมากกว่า 90% ที่เสียชีวิตในหอคอยทั้งสองนั้นอยู่บนหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกเครื่องบินชน ในอาคารเหนือ มี 1,355 คนอยู่ในชั้นหรือเหนือชั้นที่เป็นจุดที่ถูกชน ซึ่งติดอยู่หรือเสียชีวิตด้วยการสูดหายใจเอาควันเข้าไป ตกลงหรือกระโดดออกจากอาคารเพื่อหนีควันและเปลวไฟ หรือเสียชีวิตหลังอาคารถล่มลงมาหลังจากนั้น มีอีก 107 คนที่อยู่ต่ำกว่าชั้นที่ถูกชนไม่รอดชีวิต ในอาคารใต้ มีปล่องบันไดปล่องหนึ่งยังไม่ได้รับความเสียหาย ทำให้มี 18 คนหลบหนีจากชั้นเหนือกว่าชั้นที่ถูกชนได้ ในอาคารใต้มีผู้เสียชีวิต 630 คน น้อยกว่าครึ่งเหนือของผู้เสียชีวิตในอาคารเหนือ ผู้เสียชีวิตในอาคารใต้ลดลงอย่างมากจากการตัดสินใจของผู้ที่ทำงานอยู่ภายในซึ่งเริ่มอพยพเมื่ออาคารเหนือถูกเครื่องบินชน

ลำดับเหตุการณ์

วินาศกรรมในครั้งนี้ ไม่ได้เกิดขึ้น ณ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เพียงแห่งเดียว แต่อาคารเพนตากอน ก็ได้ถูกโจมตีด้วย โดยมีการใช้เครื่องบินถึง 3 ลำในการก่อการ ซึ่งผู้ก่อการในครั้งนี้ได้เข้ายึดครองเพื่อบังคับให้พุ่งเข้าชนอาคารสำคัญ และยังมีเครื่องบินอีกหนึ่งลำที่ถูกปล้นด้วยแต่ไม่สามารถชนอาคารได้ ทั้งนี้คาดว่าการขัดขืนจากลูกเรือและผู้โดยสารทำให้เครื่องบินลำดังกล่าวตกลงในเขตชนบทที่ซอมเมอร์เซ็ต
เครื่องบินที่ถูกปล้นทั้ง 4 ลำเป็นเครื่องบินโดยสารโบอิ้ง โดยเป็นรุ่น โบอิง 767-200ER จำนวน 2 ลำ (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 และยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175) อีก 2 ลำเป็นโบอิง 757-200 (จากอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 77 และจากยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93) ทั้ง 4 ลำเป็นเที่ยวบินที่บินข้ามจากฝั่งตะวันออกไปตะวันตก ดังนั้นจึงบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิงไปเต็มที่ และเชื่อว่าการพังทลายของอาคารแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ น่าจะเกิดมาจากปริมาณน้ำมันจำนวนมากที่บรรทุกอยู่บนเครื่องบินเหล่านั้น
ลำดับเหตุการณ์ตามเวลาประเทศไทยในเหตุการณ์พอจะสรุปได้ดังนี้

11 กันยายน

แผนที่เส้นทางการบินของเครื่องบินที่ถูกปล้น
  • 19:45 น. เครื่องบินโดยสารของอเมริกันแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 11 จากบอสตันเข้าชนอาคารเหนือ (อาคาร 1 เป็นอาคารที่มีเสาอากาศเห็นได้ชัด) ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ แล้วฉีกตัวอาคารเป็นช่องพร้อมทั้งเกิดเพลิงไหม้
  • 20:03 น. เครื่องบินโดยสารของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 175 จากบอสตันเช่นกัน พุ่งเข้าชนอาคารใต้ (อาคาร 2) ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และเกิดระเบิดรุนแรง
  • 20:43 น. เครื่องบินโดยสารเที่ยวบินที่ 77 ของอเมริกันแอร์ไลน์ ชนอาคารเพนตากอน เกิดควันไฟพวยพุ่ง มีการอพยพคนในทันที
  • 20:45 น. มีการอพยพคนที่ทำเนียบขาว
  • 21:05 น. อาคารใต้ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ถล่มลง ท้องถนนปกคลุมด้วยกลุ่มควัน
  • 21:10 น. บางส่วนของอาคารเพนตากอนถล่ม ขณะเดียวกันก็มีรายงานการตกของเครื่องบินโดยสารของยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 93 ที่เขตชนบทของซอมเมอร์เซ็ต รัฐเพนซิลวาเนีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพิตส์เบิร์ก
  • 21:13 น. อาคารที่ทำการของสหประชาชาติเริ่มขนย้ายผู้คน โดยเป็นคนของสำนักงานใหญ่จำนวน 4,700 คน และจากยูนิเซฟกับฝ่ายอื่นของสหประชาชาติอีก 7,000 คน
  • 21:28 น. อาคารเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถล่มยุบตัวลงคล้ายถูกตอกด้วยเสาเข็มจากด้านบน เกิดฝุ่นอันหนาทึบ และเศษหักพังกระจายไปทั่ว
  • 21:45 น. อาคารที่ทำการของรัฐทุกอาคารในวอชิงตันอพยพคนทั้งหมด
  • 21:48 น. ตำรวจได้ยืนยันว่ามีเครื่องบินตกที่ซอมเมอร์เซ็ต
  • 21:53 น. มีการประกาศเลื่อนการเลือกตั้งขั้นต้นของนิวยอร์ก
  • 22:18 น. อเมริกัน แอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกปล้น โดยเที่ยวบินที่ 11 เป็นเครื่องโบอิ้ง 767-200ER มีลูกเรือ 11 คน และผู้โดยสาร 81 คน ซึ่งกำลังเดินทางไปยังลอสแอนเจลิส ส่วนเที่ยวบินที่ 77 เป็นเครื่อง 757-200 กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิส โดยมีผู้โดยสาร 58 คน ลูกเรือ 6 คน เครื่อง 767-200ER เป็นลำที่ชนอาคารเหนือของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ และเครื่อง 757-200 ชนอาคารเพนตากอน
  • 22:26 น. ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินที่ถูกปล้นว่า เที่ยวบินที่ 93 ออกจากนิวอาร์ก รัฐเดลาแวร์ ไปยังซานฟรานซิสโก และตกที่เพนซิลวาเนีย
  • 22:59 น. ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ รายงานเรื่องเครื่องบินเที่ยวบินที่ 175 ที่กำลังเดินทางไปลอสแอนเจลิสว่า มีผู้โดยสาร 56 คน ลูกเรือ 9 คน โดยเป็นลำที่ชนอาคารใต้ของเวิลด์ เทรด เซ็นเตอร์
  • 23:04 น. สนามบินลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบิน 3 ลำ อพยพคนทั้งหมด
  • 23:15 น. สนามบินซานฟรานซิสโกซึ่งเป็นที่หมายของเครื่องบินเที่ยวบินที่ 93 อพยพคนทั้งหมด
12 กันยายน
  • 03:10 น. อาคาร 7 ซึ่งมี 47 ชั้นของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เกิดเพลิงไหม้
  • 04:20 น. อาคาร 7 ของเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ซึ่งไม่มีคนอยู่แล้วได้ถล่มลงมา โดยเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากอาคาร 1 และอาคาร 2 (อยู่คนละฝั่งถนน) ถล่มลงก่อนหน้านี้ และอาคารรอบ ๆ บริเวณก็มีเพลิงไหม้ด้วย
  • 04:30 น. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรายงานว่าเครื่องบินที่ตกในเพนซิลวาเนียอาจจะมีเป้าหมายในการชน แคมป์เดวิด หรือ ทำเนียบขาว หรือ อาคารรัฐสภา อาคารใดอาคารหนึ่ง
  • 06:45 น. ตำรวจนิวยอร์กรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่สูญหาย 78 นาย และเชื่อว่าพนักงานดับเพลิงประมาณ 200 นายเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
  • 08:22 น. เพลิงไหม้ที่อาคารเพนตากอนยังควบคุมไม่ได้ แต่สามารถจำกัดเขตการลุกลามได้แล้ว
ในขณะที่เกิดเหตุหายนะอยู่นี้ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้เดินทางจากฟลอริดากลับสู่วอชิงตัน และได้ออกแถลงการณ์ในเหตุการณ์ โดยขอให้ประชาชนร่วมกันสวดมนต์ให้กับผู้เคราะห์ร้าย รวมทั้งยังประกาศว่า "ผู้ที่กระทำการครั้งนี้จะต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำ"
ต่อมามีรายงานว่าอาคารอื่น ๆ ในบริเวณนั้นก็ได้พังทลายลงทั้งหมด (เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ประกอบด้วยอาคาร 7 หลัง) อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่า อาคาร 5 ยังคงตั้งอยู่แต่ก็เสียหายเป็นอย่างมากเช่นกัน สำหรับจำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บนั้นยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบศพแล้วกว่า 200 ศพ และยังสูญหายอีกประมาณ 6,000 คน (ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2544)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น